จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 167: การสร้างการหยั่งรู้ (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-167

      

      

      ในกรณีที่เกิดขึ้นจริงกับผู้ป่วยสตรีที่ได้รับการบำบัดในเรื่องความกลัวต่อแมงมุม (Spider) โดยแพทย์ได้ให้ผู้ป่วยสวมหมวกกันน็อค (Helmet) พลาสติก ที่ประกอบด้วยขึ้นด้วยเครื่องควบคุมคอมพิวเตอร์ (Monitor) ซึ่งวางเธอไว้ในครัวเสมือนจริง (Virtual kitchen) แล้วเธอก็ได้เห็น สัมผัส และฆ่าแมงมุม ด้วยตัวเธอเอง

      โจอัน คาร์ตไร้ต์ (Joanne Cartwright) สาธยาย (Deliberate) ความกลัวต่อแมงมุมว่า “ฉันล้างรถบรรทุกทุกๆ คืน ก่อนใช้งานในวันรุ่งขึ้น ฉันใส่เสื้อผ้าของฉันทั้งหมดไว้ในถุงพลาสติก และติดเทปพันสายไฟ (Duct tape) รอบประตูทุกจุด เพื่อมิให้แมงมุมสามารถเข้ามาได้ ฉันคิดว่าฉันกำลังจะสติแตก (Mental break-down) เหมือนคนไม่มีชีวิตเลย”

      นายแพทย์ อัลเบิร์ต คาร์ลิน (Dr. Albert Calin) ณ มหาวิทยาลัยแห่งวอชิงตัน (University of Washington) ให้การบำบัดเธอ 12 คาบ (Session) ซึ่งค่อยๆ ลดความกลัวของเธอ จนในที่สุดเธอกล่าวว่า “ฉันรู้สึกประหลาดใจมาก ฉันสามารถทำสิ่งต่างๆ (Stuff) ที่ฉันไม่เคยทำได้มากก่อน ไม่ว่าจะเป็นการไปนอนค่าย (Camping) การล่าสัตว์ (Hunting) และการเดินป่า (Hiking)

      นักจิตวิทยาสังคม (Social psychologist) ได้ค้นพบว่า ลักษณะใบหน้า (Facial feature) มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความประทับใจแรกพบ (First impression) และการหยั่งรู้ (Perception) ผู้คน ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า เราหยั่งรู้บุคคลที่มีเสน่ห์ (Attractive) ว่า น่าสนใจ เข้าสังคมได้ ฉลาด (Intelligent) เปิดเผย (Out-going) และเมตตา (Kind)

      ในทำนองเดียวกัน ความประทับครั้งแรก ก็ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบตายตัวของเผ่าพันธุ์ (Racial stereotype) ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ บนพื้นฐานของสีผิวและทรงผม (Hair style) วงการภาพยนตร์รับรู้มานานแล้วว่า ทรงผมของนักแสดง (ประเภท จำนวน และสี ฯลฯ) สามารถเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน (Radically) ซึ่งภาพลักษณ์ (Appearance) และความประทับใจแรกพบ

      อันที่จริง เขาใช้ทรงผมที่แตกต่างกัน ให้เหมาะสมกับ (Match) บทบาทการแสดงที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ สีผิวก็มีผลกระทบที่ค่อนข้างแรง (Considerable) ต่อการหยั่งรู้และความประทับใจแรกพบเหมือนกัน

      ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อร่าง (Form) ของความประทับใจแรกพบ และการสร้างแสงที่เคลื่อนไหว, ภาพยนตร์, และความเป็นจริงเสมือน ล้วนแสดง (Illustrate) ถึงหลักการ (Principle) สำคัญที่อยู่เบื้องหลัง (Underlying) ของการหยั่งรู้ นั่นคือ การหยั่งรู้ของเรา อาจเปลี่ยนแปลงหรือลำเอียง (Biased) ไปตามประสบการณ์ส่วนบุคคล กล่าวคือเป็นการแปลผล (Interpretation) ของความเป็นจริง แทนที่จะเป็นสำเนา (Copy) ของความเป็นจริง

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Creating Power: the Power of Perception http://www.creatingpower.com/site/power_of_perception.html [2018, June 23].