จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 166: การสร้างการหยั่งรู้ (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-166

      

      

      

      ปัจจุบัน นักวิจัยได้พัฒนาขั้นตอนปฏิบัติ (Procedure) ที่สร้างประสบการณ์หยั่งรู้ 3 มิติ (3 Dimensional perceptual experience) ของการเดินไปทั่วบ้าน, ผ่าทะลวง (Dissect) กบ, หรือ การผ่าตัดมนุษย์ที่ซับซ้อน (Complicated surgery) นี่คือ โลกใหม่ที่ท้าทายของความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality: VR)

      การประดิษฐ์ (Invention) คิดค้นพบกล้องถ่ายภาพยนตร์ เป็นการปฏิรูป (Revolutionary) เนื่องจากมันได้สร้างประสบการณ์หยั่งรู้ใหม่ นั่นคือ ภาพมายา (Illusion) ซึ่งเป็นภาพนิ่ง (Still pictures) ที่เคลื่อนไหวได้ ในปัจจุบัน การปฏิรูปหยั่งรู้ที่กำลังดำเนินอยู่ (Underway) เรียกว่า ความเป็นจริงเสมือน

      ความเป็นจริงเสมือน คือประสบการณ์หยั่งรู้ ของการอยู่ข้างในวัตถุ, เคลื่อนไหวผ่านสภาพแวดล้อม, หรือลงมือปฏิบัติ ซึ่งถูกสร้างขึ้น หรือจำลองแบบ (Simulated) โดยคอมพิวเตอร์

      ในการประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสมือนในวงการแพทย์ นักวิจัยกำลังพัฒนาโปรแกรมที่ให้ศัลยแพทย์ได้ฝึกฝน (Practice) ทักษะด้วยแบบการจำลองการผ่าตัดเสมือนบนศพผู้ตาย (Cadavers) และการผ่าตัดทางไกล (Remote) โดยใช้หุ่นยนต์ (Robot) ตัวอย่างเช่น ศัลยแพทย์อาจบรรจุ (Insert) กล้องขนาดจิ๋ว (Tiny) และเครื่องมือผ่าตัด เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ผ่านการเปิดแผล (Incision) ระหว่างซี่โครง (Rib) ซึ่งเล็กเท่าปลายดินสอน (Pencil-thin)

      ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัด โดยจัดแจง (Maneuver) แขนของหุ่นยนต์ ซึ่งมั่นคง (Steady) และแม่นยำ (Precise) กว่าแขนของมนุษย์ โดยเฉพาะการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์นั้น ได้มีการนำไปใช้กับการผ่าตัดหัวใจแบบ “ข้ามสะพาน” (By-pass) โดยไม่ต้องผ่าเปิดหน้าอกของผู้ป่วย

      ในเวลาต่อมา เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน สามารถใช้กับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ที่หลากหลาย (Wide variety) อาทิ การผ่าตัดสะโพกเทียม และการผ่าตัดใต้ลำกล้อง (Microscopic) ของเนื้อเยื่อ (Tissue) ร่างกาย หรือบริเวณที่มองเห็นได้ยาก (Difficult-to-see) ในสมอง

      นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสมือนในด้านจิตวิทยากับผู้ป่วยที่มีความกลัวต่อแมงมุม, ต่อการนั่งเครื่องบิน, หรือต่อความสูง ผู้ป่วยเหล่านี้มักเคยผ่านประสบการณ์ (Exposed to) ของสิ่งเร้าที่น่ากลัว (Feared stimulus) ในสภาพแวดล้อม 3 มิติ ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายดูเหมือนจะเป็นจริงไปหมด อันที่จริง นักจิตวิทยาบำบัด (Psyco-therapist) ได้รายงานผลสำเร็จในการใช้ความเป็นจริงเสมือนในการบำบัดความกลัวที่หลากหลาย (Variety of phobias)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Creating Power: the Power of Perception http://www.creatingpower.com/site/power_of_perception.html [2018, June 16].