จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 138: การรับรู้สิ่งกระตุ้น (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-138

มาเรีย (Maria) ได้รับการร้องขอให้กดปุ่ม เมื่อเริ่มได้ยินข้อความ จากกรณีดังกล่าว นักวิจัยชื่อ กุสตัฟ เฟ็คเน่อร์ (Gustav Fechner) คิดว่า มีระดับแน่นอนหนึ่งของค่าสมบูรณ์ของความเข้มข้น (อาทิ ความดัง-ค่อย) ซึ่งจะรายงานผลเมื่อได้ยินจังหวะเสียง (Tone) แต่ในเวลาต่อมา เฟ็คเน่อร์ประสบความยลำบากในการค้นหา (Identify) “จุดแบ่งสมบูรณ์” ตามที่เขานิยามไว้

แม้ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับ “จุดแบ่งสมบูรณ์” อาจดูเหมือนเป็นนามธรรม (Abstract) มันมีผลที่ตามมาเป็นจริงมากๆ (Very real consequence) ในการค้นหามะเร็งทรวงอก (Breast cancer) ในแต่ละปี แพทย์อ่านผลการตรวจเต้านม (เอกซเรย์ทรวงอก) ประมาณ 2.5 ล้านฟิล์ม เพื่อค้นหาจุดขาว ที่เด่นชัดออกมาจากพื้นดำ (Black background) อันแสดงถึงเนื้องอก (Tumor)

ปัญหาก็คือ ประมาณ 40% ของสตรีมีเนื้อเยื่อตรงทรวงอกที่เชื่อมกันอยู่ (Connective tissue) จำนวนมากซึ่งปรากฏเป็นจุดเล็กๆ (Tiny) สีขาว จึงอาจเล็ดลอดสายตาและค้นหาไม่พบ ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงไม่สามารถค้นหาประมาณ 5% - 17% ของเนื้องอกที่เต้านม (Mammogram)

ต่อจากมะเร็งที่ปอด (Lung cancer) แล้ว มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งอันดับ 2 ที่เกิดขึ้นบ่อย (Frequently) ในสตรีอเมริกัน โดยมีประมาณ 200,000 รายที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละปี ดังนั้น งานของการวินิจฉัยโรค จึงอยู่ที่การเพิ่มความแม่นยำ (Accuracy) ของผลการตรวจเต้านม นักวิจัยพบว่า ถ้าแพทย์ 2 คน อ่านผลตรวจอย่างเป็นเอกเทศ (Independently) ก็จะเพิ่มความแม่นยำในการค้นหาได้ถึง 20%

ในอดีต วิธีการของการตรวจเต้านม อาศัยการฉายแสง (X-ray) ไปกวาดส่อง (Scan) ทรวงอก แล้วรังสีแพทย์จะอ่านฟิล์ม เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้ออะไรที่ผิดปรกติไหม? รวมทั้งเปรียบเทียบกับผลจากการทดสอบก่อนหน้านี้ แล้วบันทึกบนแผ่นฟิล์มที่สามารถเก็บได้นานเป็นปีๆ ในแฟ้ม (File) ที่จับต้องได้

แต่วิธีการใหม่ในปัจจุบัน คือการตรวจเต้านมทางดิจิทัล (Digital mammogram) เริ่มเป็นที่นิยมในการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมันสามารถค้นหาก้อนเนื้อร้าย (Cancerous) ได้ดีกว่าเอกซ์เรย์ โดยที่แสงที่ฉายได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signal) ที่สามารถใช้วิเคราะห์และเก็บข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ เหมือนวิธีที่กล้องถ่ายรูปดิจิทัลถ่ายและเก็บรูปภาพ

การตรวจเต้านม เพื่อค้นหามะเร็ง เป็นตัวอย่างในทางปฏิบัติของการค้นหาหนทางไปสู่ “จุดแบ่งสมบูรณ์” ที่อยู่ระดับต่ำกว่า เพื่อค้นหาเนื้อร้าย และช่วยชีวิตผู้ป่วย นอกเหนือจากความเกี่ยวข้องกับข้อความผ่านใต้จิตสำนึก (Subliminal message) และการทดสอบเต้านมแล้ว ปัญหาของการกำหนด (Determine) “จุดแบ่งสมบูรณ์” ยังประยุกต์ใช้ได้กับคำถามว่า เรารู้ได้อย่างไรว่า สิ่งกระตุ้น (Stimulus) ได้ลดความเข้มข้น (Intensity) ลงหรือเพิ่มความเข้มข้นขึ้น?

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Perception https://en.wikipedia.org/wiki/Perception [2017, December 2].
  3. Digital mammogram http://www.webmd.com/breast-cancer/digital-mammograms-a-clearer-picture [2017, December 2].