จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 137: การรับรู้สิ่งกระตุ้น (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-137

เรารู้ได้อย่างไรว่ามีอะไรเกิดขึ้น? ลองจินตนาการว่า เราเริ่มหูหนวก (Deaf) หรือตาบอด (Blind) กล่าวคือ ไม่สามารถได้ยินสิ่งที่ผู้คนเขาพูดกัน หรือไม่เห็นเส้นทางที่เดินไป แล้วเราจะเริ่มตระหนักว่า ประสาทสัมผัส (Sense) ทำหน้าที่ป้อนกระแสข้อมูล (Stream of information) เกี่ยวกับโลกรอบตัวเรา [โลกทัศน์]

ประสาทสัมผัสดังกล่าว บอกให้เราทราบว่า มีบางสิ่งบางอย่างอยู่ข้างนอก และการมองจากใจ (Perception) บอกเราว่า บางสิ่งบางอย่างที่ว่านั้น คืออะไร? อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งบางอย่าง (อาทิ เสียง หรือวัตถุ) ที่เราไม่รับรู้ เนื่องจากระดับการกระตุ้น (Stimulation) ต่ำเกินไป และไม่เกิน (Exceed) จุดแบ่ง (Threshold) ของประสาทสัมผัสเฉพาะ (Particular)

นักวิจัยชื่อ กุสตัฟ เฟ็คเน่อร์ (Gustav Fechner) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต (Historical figure) จากการวิจัยในเรื่องการมองจากใจ (Perceptual research) ได้นิยามคำว่า “จุดแบ่งสมบูรณ์” (Absolute) ว่า เป็นปริมาณน้อยที่สุดของพลังงานกระตุ้น (Stimulus energy) อาทิ เสียงหรือแสง ที่สามารถสังเกตหรือสัมผัส (Experience) ได้

ตามนิยามของเฟ็คเน่อร์ ถ้าสิ่งที่มาเรีย (Maria) ได้ยิน สามารถวัดผล (Measure) ได้ ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันเป๊ะ (Exactly the same) “จุดแบ่งสมบูรณ์” ของเธอ จะยังคงอยู่เหมือนเดิมเสมอ

แม้ว่า เฟ็คเน่อร์ ได้พยายามทดลองหลากหลายวิธีที่จะค้นหา (Identify) “จุดแบ่งสมบูรณ์” แต่เขาพบว่า “จุดแบ่ง” ของแต่ละคน อาจไม่สมบูรณ์ แต่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความตื่นตัว (Alertness) และสถานการณ์ทดสอบของผู้ที่ได้รับการทดลอง (Subject) เนื่องจากความแปรปรวน (Variability) ในการวัดผล นานานักวิจัยจึงต้องค้นนิยามใหม่ของคำว่า “จุดแบ่งสมบูรณ์”

ส่วนบนเหนือ “จุดแบ่งสมบูรณ์” เป็นจุดที่มาเรียมีโอกาส 50% ของการได้ยินข้อความ ส่วนการกระตุ้นด้วยเทปบทเรียนผ่านจิตใต้สำนึก (Subliminal) สามารถเกิดขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งอันอยู่ใต้ “จุดแบ่ง” ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงห่าง (Wide range) ของ 0 – 49% ทำให้มาเรียอาจจะ (หรืออาจจะไม่) รายงานการได้ยินจากเทปบทเรียนผ่านจิตใต้สำนึก

แต่มาเรียอาจไม่มีวันรายงานข้อความที่ได้ยิน หากมีความเข้มข้น (Intensity) ต่ำ (อาทิ 0%) แต่บางครั้ง เธออาจรายงานการได้ยินข้อความที่มีความเข้มข้นสูง (อาทิ 49%)

เหตุผลที่มาเรียอาจมิได้รับรู้ หรือไม่ได้ยินข้อความผ่านจิตใต้สำนึกที่บันทึกอยู่ในเทป ก็คือข้อความเหล่านี้ อยู่ต่ำกว่า “จุดแบ่งสมบูรณ์” สำหรับการได้ยิน เพื่อให้เข้าใจวิธีการกำหนด (Determine) “จุดแบ่ง” ลองจินตนาการว่า มาเรียได้รับข้อความต่อเนื่องของการได้ยิน (Series of auditory message) ซึ่งค่อยๆ ทวีความเข้มข้นขึ้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Perception https://en.wikipedia.org/wiki/Perception [2017, November 25].