จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 133: ระบบเทียมของการได้ยิน (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-133

หูหนวก (Deafness) มี 2 ประเภท ซึ่งมีผลกระทบ (Effect) สาเหตุ (Cause) และการรักษา (Treatment) ที่แตกต่างกัน ประเภทที่ร้ายแรง (Severe) มีสาเหตุมาจากหูชั้นใน (Inner ear) ถูกทำลาย เรียกว่า “หูหนวกจากเส้นประสาท” (Neural deafness) ประเภทไม่ร้ายแรงมีสาเหตุมาจากปัญหาในหูชั้นกลาง (Middle ear) เรียกว่า “หูหนวกจากการเหนี่ยวนำ” (Conduction)

เรามักเห็นผู้สูงอายุสวมใส่เครื่องช่วยการได้ยิน (Hearing aid) ซึ่งมักใช้กับการรักษาหูหนวกจากการเหนี่ยวนำ อันอาจมีสาเหตุมาจากขี้หู (Wax) ที่อยู่ในรูหู (Auditory canal) การบาดเจ็บ (Injury) ของเยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) หรือการทำงานที่ผิดปรกติ (Malfunction) ของกระดูกหู (Ossicles)

เงื่อนไขเหล่านี้ ได้แทรกแซง (Interfere) การส่งผ่านความสั่นสะเทือน (Vibration transmission) จากเนื้อแก้วหูไปยังโสตประสาท (Cochlea) หูหนวกจากการเหนี่ยวนำสามารถรักษาได้ด้วยเครื่องช่วยการได้ยิน ซึ่งทดแทน (Replace) การทำงานของหูชั้นกลาง โดยเครื่องช่วยการได้ยินจะรับคลื่นเสียง เปลี่ยนเป็นการสั่นสะเทือน แล้วส่งไปยังหูชั้นในผ่านหัวกะโหลก

เฮเลน เค็ลเล่อร์ (Hellen Keller) ผู้เกิดมาตาบอดและหูหนวก กล่าวว่า “หูหนวกเป็นความทุกข์ทรมาน (Affliction) มากกว่าตาบอด” หูเธอหนวกจากเส้นประสาท (ซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องช่วยการได้ยิน) อันมีสาเหตุมาจากการถูกทำลาย (Damage) ของตัวรับเสียง (Auditory receptor) หรือเซลล์ขน (Hair cell)

การทำลายดังกล่าว ขัดขวาง (Prevent) การผลิต (Production) ชีพจรของเส้นประสาท (Nerve pulse) มิให้เข้าถึงสมอง เนื่องจากทั้งเซลล์ขนหรือใยประสาทการได้ยิน (Auditory nerve fiber) ไม่สามารถสร้างใหม่ (Regenerate) ได้ หูหนวกจากเส้นประสาท จึงไม่สามารถรักษาได้ จนกว่าจะมีการฝัง (Implant) โสตประสาท โดยมีการทำงานดังนี้

ไมโครโฟน (Microphone) ที่สวมใส่อยู่ด้านหลังของหู จะรวบรวมและส่งคลื่นเสียงไปยังเครื่องประมวลเสียง (Sound processor) ซึ่งมักสวมใส่อยู่ตรงเข็มขัด โดยจะแปลงโฉม (Transform) คลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electrical signal) แล้วส่งไปยังเครื่องส่งขนาดจิ๋ว (Tiny transmitter) ที่ถูกฝังอยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อเครื่องรับ (Receiver) ซึ่งถูกฝังอยู่ในหัวกะโหลกกระดูก (Bony skull) ได้รับสัญญาณไฟฟ้าแล้ว จะส่งสัญญาณไปตามสายเคเบิ้ล (Wire cable) จนถึงโสตประสาท สายเคเบิ้ลจะถูกพันเกลียว (Thread) เข้าไปยังท่อที่เต็มไปด้วยของเหลว (Fluid-filled tube) ของโสตประสาท จนสัมผัสประสาทการได้ยิน เมื่อเครื่องรับส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายเคเบิ้ล ก็จะกระตุก (Trigger) ชีพจรในประสาทการได้ยิน ซึ่งจะผลิต (Manufacture) ชีพจรในอาณาบริเวณ (Area) การได้ยินของสมอง แล้วแปรผล (Interpret) และแปลงโฉมชีพจรให้กลายเป็นความรู้สึกของการได้ยิน(Auditory sensation)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Hearing loss https://en.wikipedia.org/wiki/Hearing_loss [2017, October 28].