จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 113: การทำงานของหู (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-113

ถ้ามีคนตะโกนว่า “ระวัง” (Watch out) เราจะหันศีรษะไปยังแหล่งเสียงทันที เพราะสมองของเราจะคำนวณโดยอัตโนมัติ ซึ่งตำแหน่ง (Location) ของแหล่งเสียงดังกล่าว นอกจากทิศทางแล้ว สมองยังคำนวณว่าเสียงเรียกชื่อเรานั้นสูงหรือต่ำ และดังหรือค่อย อันที่จริง คลื่นสมองของคนเราประกอบด้วยปริมาณของข้อมูล (Amount of information) อย่างน่าพิศวง

เสียงที่มาจากข้างขวา จะเดินทางถึงหูขวาในเสี้ยววินาที ก่อนจะถึงหูซ้าย สมองจะแปรผล (Interpret) โดยอัตโนมัติ ความแตกต่างในเวลานี้ เป็นสัญญาณ (Signal) ว่า แหล่งของเสียงอยู่ข้างขวา แล้วเราก็จะหันศีรษะโดยอัตโนมัติไปทางขวา ไปยังแหล่งกำเนิดเสียง ส่วนคลื่นเสียงก็จะเดินทางถึงหูซ้าย ช้ากว่าหูขวา เพียงเสี้ยววินาที

สมองใช้เบาะแส (Cue) อื่น ในการคำนวณว่าเป็นเสียงสูงหรือเสียงต่ำ และเป็นเสียงดังหรือเสียงค่อย เราอาจเริ่มต้นด้วยจินตนาการเสียงต่ำคำรามที่เป็นภัยคุกคาม (Menacing growl) ของสิงโต (Lion) และเสียงร้องกรี๊ด (Screech) ของเล็บนิ้วมือ (Fingernail) ที่ข่วนบนกระดานชอล์ก (Chalkboard)

ประสบการณ์ตามความรู้สึก (Subjective experience) อาจเป็นเสียงสูงหรือต่ำ (Pitch) วิธีการที่โสตประสาท (Cochlea) ให้รหัส (Code) เสียงสูง-ต่ำ และสมองแปรผลรหัส เป็นสิ่งที่ซับซ้อน (Complicated) มี 2 ทฤษฎีเสียงสูง-ต่ำที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้ อันได้แก่ ทฤษฎีความถี่ (Frequency) และทฤษฎีสถานที่ (Place)

ทฤษฎีความถี่ ซึ่งใช้ (Apply) กับเสียงต่ำเท่านั้น กล่าวว่า อัตราที่ชีพจรประสาทเข้าถึงสมอง จะกำหนดความต่ำของเสียง ตัวอย่างเช่น สมองแปรผลอัตราความถี่ชีพจรที่เต้น 50 ครั้งต่อวินาที ว่าเป็นเสียงต่ำกว่าอัตราความถี่ของชีพจรที่เต้น 200 ครั้งต่อวินาที การได้ยินเสียงต่ำของสิงโตคำราม เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความถี่นี้

อย่างไรก็ตาม การได้ยินเสียงสูง อาทิ การกรีดของเล็บนิ้วมือบนกระดานชอล์ก เกี่ยวข้องกับอีกทฤษฎีหนึ่ง กล่าวคือทฤษฎีสถานที่ ซึ่งกล่าวว่า สมองกำหนดเสียงกลาง (Medium) หรือสูงบนพื้นฐานของสถานที่บนเนื้อเยื่อเบซิล่าร์ (Basilar membrane) ณ ที่ซึ่งการสั่นสะเทือน (Vibration) เกิดขึ้นสูงสุด (Maximum)

ตัวอย่างเช่น เสียงที่ต่ำกว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการสั่นสะเทือนสูงสุด ใกล้จุดเริ่มต้นของเนื้อเยื่อเบซิล่าร์ของโสตประสาท ในขณะที่เสียงที่สูงกว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการสั่นสะเทือนสูงสุด ใกล้ปลายเนื้อเยื่อดังกล่าว ระบบการได้ยินของเรา รวมเอาทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อแปลงโฉม (Transform) คลื่นเสียงให้กลายเป็นการมองที่ลึกซึ้ง (Perception) จากเสียงต่ำไปเสียงสูง

นอกจากนี้ สมองเรายังคำนวณว่า เสียงดัง (Loud) หรือค่อย (Soft) อีกด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning. [2017, June 11].
  2. Ear https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, June 11].