จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 114: การทำงานของหู (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-112

หลังจากชีพจรประสาท (Nerve impulse) ที่สั่นสะเทือนเดินทางถึงสมอง จะมีกระบวนการ 2 ขั้นตอนเกิดขึ้น โดยในขั้นแรก จะเกิดขึ้นในอาณาบริเวณหลักของการได้ยิน (Primary auditory area) ซึ่งชีพจรประสาทจะถูกแปลงโฉม (Transform) จากชิ้นส่วนเล็กๆ ของเสียงที่ไร้ความหมาย (Meaningless bits of sounds) ให้กลายเป็นเสียงที่มีความหมาย (Meaningful)

เยื่อหุ้มสมอง (Cortex) ของบริเวณหลักของการได้ยิน อยู่ ณ ขอบบน (Top edge) ของสมองกลีบขมับ (Temporal lobe) จะแปลงโฉมชีพจรประสาท ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า (Electrical signal) ให้กลายเป็นประสาทสัมผัสของการได้ยิน (Auditory sensation) ขั้นพื้นฐาน อาทิ จากนานาเสียงและกระแสเสียง (Tone) ระดับเสียง (Pitch) และความดัง

จากนั้น เยื่อหุ้มสมองของบริเวณหลักของการได้ยิน จะส่งชีพจรประสาทสัมผัส ไปยังอาณาบริเวณที่สัมพันธ์กับการได้ยิน (Auditory association area) ซึ่งจะรับประสาทสัมผัสของการยินที่ไร้ความหมาย ในรูปแบบของชีพจรรประสาท จากอาณาบริเวณของการได้ยินหลักที่อยู่ใกล้เคียง (Neighboring)

อาณาบริเวณที่สัมพันธ์กับการได้ยิน จะรวบรวม (Combine) ประสาทสัมผัสของการได้ยินที่ไร้ความหมาย กับการมองมองเห็นลึกซึ้ง (Perception) ทำให้กลายเป็นเสียงเพลง (Melody) บทเพลง (Song) คำพูด (Word) และประโยค (Sentence) ที่มีความหมายตามที่เราคุ้นเคย

ตามปรกติ จะใช้เวลาเพียงเล็กน้อย (Moment) ตั้งแต่คลื่นเสียงเดินทางเข้าสู่หูของเราจนถึงเวลาที่เราพูดขึ้นว่า “ใช่แล้ว นั่นคือเพลง . . .” แต่ในระว่างเวลาที่น่าประหลาดใจ (Amazing) ดังกล่าว คลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นชีพจร แล้วชีพจรจะถูกเปลี่ยนเป็นประสาทสัมผัส และในที่สุดประสาทสัมผัสจะถูกเปลี่ยนเป็นการมองเห็นลึกซึ้ง

ขั้นตอนต่อไป คือวิธีการที่สมองใช้ชีพจรประสาทในการคำนวณ (Calculate) ว่าเสียงมาจากไหน? อันที่จริงสมองของเราสามารถคำนวณทันที (Instantly) เกี่ยวกับทิศทาง (Direction) หรือแหล่งของเสียง (Source) นอกจากนี้มันยังหาเบาะแส (Cue) ว่าเป็นเสียงสูงหรือต่ำ? และเป็นเสียงดังหรือเสียงค่อย (Soft)?

สมองกำหนด (Determine) ทิศทางของเสียง โดยคำนวณความแตกต่างในเรื่องเวลา แม้คลื่นเสียงจะใช้เวลาเพียงเล็กน้อย (Slight) ในการเดินทางถึงหูทั้ง 2 ข้าง ซึ่งจะห่างจากกัน (Apart) ประมาณ 15 เซ็นติเมตร เนื่องจากเสียงคงจะ (Probably) เดินทางถึงหูทั้งคู่ในเวลาเดียวกัน (Simultaneously) หากเรามีปัญหาในการบอกทิศทางที่เสียงเดินทาง เราเพียงหันศีรษะไปด้านข้าง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เสียงเข้าถึงหูข้างหนึ่งเร็วกว่าอีกข้างหนึ่ง

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Ear. https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, June 03].