จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 111: การทำงานของหู (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

หากเราลองเอาหลอดกาแฟ (Drinking straw) สัก 2 อัน วางคู่กัน แล้วจับมันพันรอบ (Wind) นิ้วมือหนึ่ง เราก็จะได้เห็นแบบจำลอง (Imitation) ของโสตประสาท (Cochlea)

โสตประสาทประกอบด้วยท่อ (Tube) ยาวแคบ (Narrow) 2 ท่อ ซึ่งแยกด้วยเนื้อเยื่อ (Membrane) แต่เชื่อมกัน [เหมือนหลอดกาแฟคู่] แล้วพับงอขึ้น (Roll up) หรือเป็นขด (Coil) จุดเริ่มต้นของส่วน (Compartment) ที่เป็นขด ปิด (Sealed) ด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “ช่องรูปไข่” (Oval window)

ดังนั้นเมื่อ “กระดูกหู” (Ossicles) ไปสั่นสะเทือน (Vibrate) ช่องรูปไข่ ซึ่งจะทำให้ของเหลว (Fluid) ในโสตประสาทสั่นสะเทือนไปด้วย ณ บริเวณ (Located) ของตัวรับการได้ยิน (Auditory receptor)

ตัวรับการได้ยิน เรียกว่า “เซลล์ขน” (Hair cell) เป็นเซลล์รูปทรงขน (Hair-shaped) ที่ยื่นออก (Stick out) จากเนื้อเยื่อข้างใต้ (Bottom) ของโสตประสาท เรียกว่าเนื้อเยื่อ “บาซิลลาร์” (Basilar) การสั่นสะเทือนของของเหลวในท่อโสตประสาท เป็นสาเหตุของการเคลื่อนไหวของเนื้อเยื่อดังกล่าว ซึ่งหักงอ (Bend) เซลล์ขน

กลไก (Mechanism) ในการหักงอเซลล์ขน ก่อให้เกิด (Generate) พลังไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Miniature electrical force) ซึ่งถ้ามีมากพอ ก็จะกระตุ้น (Trigger) ชีพจรประสาท (Nerve pulse) หรือส่งผลให้เกิด “การถ่ายโอน” (transduction) แรงสั่นสะเทือน ในโสตประสาท หลังจากนั้นชีพจรประสาท ก็จะออกจากโสตประสาทไป

ประสาทการได้ยิน (Auditory nerve) เป็นกลุ่มของเส้นใย (Band of fiber) ที่นำพา (Carry) ชีพจรประสาท (สัญญาณไฟฟ้า) ไปยังเยื่อหุ้มสมอง (Cortex of brain) ในการประมวล (Processing) ข้อมูล

โสตประสาทได้ทำหน้าที่ในบทบาท (Role) ของการถ่ายโอน หรือแปลงโฉม (Transforming) การสั่นสะเทือนไปยังชีพจรประสาท อย่างสมบูรณ์ (Complete) อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรายงานการได้ยินสิ่งใดๆ จนกว่าชีพจรเดินทางถึง (Reach) สมองของเราในที่สุด

แล้วเราจะแยกแยะเสียงอึกทึกออจากเสียงดนตรีได้อย่างไร? คำตอบก็คือ เช่นเดียวกับที่เรามองไม่เห็น หูของเราก็ไม่ได้ยิน แต่อวัยวะสัมผัส (Sense organ) อาทิ หู ทำหน้าที่ (Perform) เพียงการถ่ายโอน หรือแปลงโฉมพลังงานทางกายภาพ (Physical energy) เข้าสู่ชีพจรประสาท เราจะไม่ได้ยินหรือรับรู้ (Recognize) เสียงต่างๆ อาทิ ดนตรี หรือคำ จนกว่าชีพจรประสาทจะได้รับการประมวลผล โดยอาณาบริเวณการได้ยินในกลีบขมับ (Temporal lobe) ของสมองคนเรา

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Ear. https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, May 23].