จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 109: กายวิภาคตของหู (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-109

เหตุผลเดียวที่หูของเรามีรูปร่างที่แปลกประหลาด (Peculiar shape) และยื่นออก (Stick out) จากด้านข้างของศีรษะก็คือเพื่อรวบรวมคลื่นเสียง (Sound wave) ดังนั้น คลื่นเสียงที่เกิดจาก (Produce) เสียงดนตรีหรือเสียงสุนัขเห่า ก็ได้รับการรวบรวมโดยหูชั้นนอก (Outer ear)

หูชั้นนอกประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน อันได้แก่ (1) หูภายนอก (Exterior) (2) รูหู (Auditory canal) และ(3) เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane)

หูภายนอกเป็นโครงสร้างรูปทรงไข่ (Oval-shape) ที่ยื่นออก (Protrude) จากด้านข้างของศีรษะ มีหน้าที่ (Function) รับคลื่นเสียง แล้วส่งต่อไปตามอุโมงค์ (Tunnel) แคบๆ เรียกว่า “รูหู”

รูหูเป็นท่อ (Tube) ยาว ที่กรอง [แบบกรวยงาย] (Funnel) คลื่นเสียงระหว่างทาง เพื่อให้คลื่นเสียงกระทบ (Strike) เนื้อเยื่อที่บางและตึง (Taut) อันเป็นแก้วหู (Ear drum) หรือเยื่อแก้วหู ในบางกรณี รูหูอาจอุดตัน (Clogged) ด้วยขี้หู (Ear wax) ซึ่งแทรกแซง (Interfere) คลื่นเสียงบนเส้นทางไปสู่แก้วหู ส่วนขี้หูควรได้รับการขจัดทิ้งโดยนักวิชาชีพ (Professional) เพื่อมิให้ทำลายแก้วหูที่บอบบาง (Fragile)

เยื่อแก้วหูเป็นโครงสร้างที่ตึงและบาง มักรู้จักกันในชื่อ “แก้วหู” คลื่นเสียงจะกระทบเยื่อแก้วหู และทำให้มันสั่นสะเทือน เยื่อแก้วหู ส่งผ่าน (Pass) แรงสั่นสะเทือนไปยังกระดูกชิ้นแรกของกระดูก 3 ชิ้นที่ติดอยู่ด้วยกัน เยื่อแก้วหูเป็นจุดแสดง (Mark) พรมแดน (Boundary) ระหว่างหูชั้นนอก (Outer ear) กับหูชั้นกลาง (Middle ear)

ส่วนหูชั้นกลาง ทำหน้าที่คล้ายเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ของวิทยุ โดยรับ (Pick up) และเพิ่มหรือขยาย (Expand) แรงสั่นสะเทือน (Vibration)

หูชั้นกลาง เป็นโพรงที่มีกระดูก (Bony cavity) ซึ่งปิด (Sealed) แต่ละปลาย (End) ด้วยเนื้อเยื่อ โดยที่เนื้อเยื่อทั้ง 2 ปลาย เชื่อมกันด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ 3 ชิ้น อันรวมกัน (Collectively) เรียกว่า “กระดูกหู” (Ossicles) และแยกกันทีละชิ้น เรียกว่า “ค้อน” (Hammer) “ทั่ง” (Anvil) และ “โกลน” (Stirrup) ตามรูปร่างของกระดูกแต่ละชิ้น

กระดูกค้อน ติดอยู่ (Attach) กับด้านหลังของเยื่อแก้วหู เมื่อเยื่อแก้วหูสั่นสะเทือน จะทำให้กระดูกค้อนสั่นสะเทือนไปด้วย แล้วกระดูกค้อนก็จะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังกระดูกทั่งที่ติดอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะส่งแรงสั่นสะเทือนต่อไปยังกระดูกโกลนที่ติดอยู่กันเช่นกัน กระดูกโกลนเชื่อมกับปลายเนื้อเยื่อ อันเป็น “ช่องรูปไข่” (Oval window)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning..
  2. Genital Warts (HPV Infection) https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, May 1].