จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 107: การวัดคลื่นเสียง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เราวัดความดัง (Loudness) เป็นเดซิเบล (Decibel : dB) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความดัง เหมือนเซ็นติเมตรเป็นหน่วยวัดความยาว จุดเริ่มต้น (Threshold) ของการได้ยิน มีช่วง (Range) ตั้งแต่ 0 dB ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีเสียงเลย (Absolutely no sound) ไปจนถึง 140 dB ซึ่งจะก่อให้เกิดความเจ็บปวด (Pain) และการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร (Permanent hearing loss)

ถ้าอยู่ในเรือกลางทะเลสาบที่เงียบสงบ (Calm lake) เราอาจพูดว่า “ที่นี่ช่างเงียบจริง” นี่คือจุดเริ่มต้นของการได้ยิน ณ ระดับ 0 dB แต่พวกเราส่วนมากคุ้นเคย (Accustomed) กับสภาพแวดล้อมในเมืองที่ค่อนข้างเสียงอึกทึกคึกโครม (Relatively noisy)

รถยนต์ทุกวันนี้ ได้รับการรังสรรค์ (Engineered) ให้ทำงานอย่างเงียบเชียบ (Quiet) ณ ระดับ 30 dB เหมือนการกระซิบ (Whisper) กล่าวคือ เงียบเหมือนในห้องสมุดที่สภาวะเป็นกลาง (Neutral) ที่ 45 dB รถยนต์ส่วนมากวิ่งได้เงียบเกือบเหมือนห้องสมุด และ ณ ความเร็ว 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง (70 dB) มันจะไม่เสียงดังไปกว่าการสนทนา (Conversation)

ชราภาพทำให้ความอ่อนไหว (Sensitivity) ต่อการได้ยินเสื่อมลง และเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้สูงอายุมักพูดครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “เธอว่าอะไรนะ?” ซึ่งแสดงว่าเขาอาจไม่ค่อยได้ยินเสียงสนทนาตามปรกติ นี่เป็นระดับ 60 dB ที่เราจะได้ยินเสียงเครื่องปรับอากาศ (Air conditioner) ที่อยู่ห่างไกลประมาณ 6 เมตร หรือเสียงของเครื่องพิมพ์ดีดด้วยมือ

การได้ยินเสียงสม่ำเสมอ (Constant) เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ก่อให้เกิด (Produce) การสูญเสียการได้ยินได้ คนที่รักดนตรีรับรู้ว่าหูฟังครอบศีรษะระบบแยกเสียง (Stereo headphone) จะก่อให้เกิดเสียงจาก 80 ถึง 115 dB และระดับ 80 dB จะเกิดในสภาวะจราจรคับคั่ง (Heavy) นาฬิการปลุกที่ห่างออกไปกว่าครึ่งเมตร รถไฟใต้ดิน (Subway) และเครื่องอัดเทป (Tape recorder)

การได้ยินเสียงเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไป เป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นพนักงานที่ใช้เครืองมือไฟฟ้า (Power tool) จนเกิดเสียงดัง โดยมิได้ใช้เครื่องป้องกัน (Protector) หูที่เหมาะสม จะมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน ณ ระดับ 100 dB เป็นสภาวะภายในของรถแข่ง เสียงร้องกรี๊ด (Scream) ของทารก เลื่อยที่มีใบพันเป็นโซ่ (Chain saw) เครื่องเจาะหินทะลุทะลวง (Jack-hammer) และพลุประทัด (Fire-cracker)

ระดับ 120 dB เป็นสภาวะใกล้ลำโพงในการแสดงดนตรีที่กึกก้องไปทั่ว (Rock concert) หรือเสียงฟ้าร้อง (Thunderclap) การตะโกนดังลั่น (Yell) ณ 115 dB แม้เพียง 15 นาที (หรือต่ำกว่า) ก็อาจก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน นักดนตรีร็อค (Rock musician) และบรรดาแฟนๆ ซึ่งมิได้ใช้ที่อุดหู (Ear plug) มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sound - https://en.wikipedia.org/wiki/Sound [2017, April 29].