จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 100 : เส้นทางสายตาสู่สมอง (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ถ้าบางส่วนของเปลือกสมองหลักส่วนการเห็น (Primary visual cortex) ถูกทำลาย เราจะมี “จุดบอด” (Blind spot) ในบริเวณ ของการเห็น (Visual field) เหมือนการมองผ่านแก้วที่มีจุดดำเล็กๆ (Tiny) อยู่บนกระจก แต่ถ้าเปลือกสมองหลักส่วนการเห็น ถูกทำลายทั้ง 2 ซีก (Hemisphere) ของสมอง จะทำให้เกิดตาบอดเกือบสนิท โดยยังสามารถแยกกลางคืนออกจากกลางวัน

เปลือกสมองหลักส่วนการเห็น ส่งการรู้สึกมองเห็น (Visual sensation) หรือแรงกระตุ้น (Impulse) ไปยังอาณาบริเวณที่ใกล้เคียง (Neighboring) ซึ่งสัมพันธ์กับการเห็น (Visual association) เพื่อให้เพิ่มความหมาย (Meaning) อาณาบริเวณดังกล่าว รับการรู้สึกของเนื้อผิว เส้น การเคลื่อนไหว ทิศทาง (Orientation) และสี จากนั้นก็รวบรวมกัน (Assemble) เป็นภาพที่มีความหมาย (Meaningful image)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์กับการเห็น คือความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งเร้าการเห็น กับภาพการเห็นที่เรียนรู้มาก่อนหน้านั้น ในหนทางอย่างมีความหมาย ความสัมพันธ์นี้ ใช้ในการแยกแยะ (Sort) สิ่งของที่ควรจะอยู่ด้วยกัน แต่ไม่เหมือนกัน (Identical) โดยเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลากหลาย อาทิ การอ่าน การเขียน และการสังเกต (Perceive) วัตถุ สัตว์ ผู้คน และสีสัน

เนื่องจากมีอาณาบริเวณที่สัมพันธ์กับการเห็นในแต่ละซีกของสมอง หากบางส่วนของอาณาบริเวณดังกล่าวถูกทำลาย เราจะสูญเสียภาวะการระลึกรู้ (Agnosia) ซึ่งเป็นอุปสรรคในการรวบรวมการรู้สึกมองเห็น ให้กลายเป็นภาพที่มีความหมาย โดยเฉพาะภาพเชิงซ้อน (Complex)

ตัวอย่างเช่น ผู้ที่สูญเสียภาวะการระลึกรู้ จะเห็นชิ้นส่วนของสิ่งต่างๆ แต่พบอุปสรรคของการรวม (Combine) เป็นภาพที่สมบูรณ์ในองค์รวม (Whole) อย่างมีความหมาย นักวิจัยใช้การฉายภาพสมอง (Brain scan) ในการแสดงกิจกรรมที่แท้จริงของประสาท (Neural activity) ซึ่งเกิดขึ้นในอาณาบริเวณที่สัมพันธ์กับการเห็น

การฉายภาพดังกล่าวเรียกว่า PET Scan (PET = Position emission tomography) อันเป็นการทดสอบด้วยภาพ ซึ่งแพทย์ใช้ตรวจหาเซลล์ที่ทำงานผิดปรกติในร่างกาย โดยใช้สีย้อม (Dye) พิเศษที่สามารถแกะรอย (Trace) กัมมันตภาพรังสี ผ่านการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (Vein) ในแขน ที่จะถูกดูดซึมโดยอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย

PET Scan แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัย (Subject) มองเห็นและอ่านคำอย่างเงียบๆ กิจกรรมของประสาท (ซึ่งแสดงออกเป็นภาพสีฟ้าและสีเขียว) จะเกิดขึ้นสูงสุดในเปลือกสมองหลักส่วนการเห็น และอาณาบริเวณที่สัมพันธ์กับการเห็น ซึ่งอยู่ในสมองกลีบท้าทอย

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Visual system - https://en.wikipedia.org/wiki/Visual_system [2016, March 11].