จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 97: ความทรงจำระยะยาว (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมากๆ (90+ ปี) ที่เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ทำคะแนนได้ต่ำกว่าผู้เยาว์วัยในทดสอบความจำเกี่ยวกับประธานาธิบดี 8 คนสุดท้ายของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมาตรวัดความรู้ (Measure of knowledge) ของลำดับชั่วคราว (Temporal order) นักวิจัยคนเดียวกันยังพบว่า ระดับการศึกษามีสหสัมพันธ์ในเชิงบวก (Positive correlation) กับความทรงจำที่ห่างไกล (Remote memory)

ผลลัพธ์เหล่านี้สนับสนุนข้อโต้เถียงที่ว่า การทดสอบความทรงจำที่ห่างไกล อาจสะท้อนถึงการได้รับ (Exposed) ข่าวสารจากสื่อ เนื่องจากเราคาดหวังว่า ผู้มีการศึกษาสูงมักจะอ่านและรับรู้ประวัติศาสตร์ในเร็ววันนี้ (Recent history) มากกว่าประวัติศาสตร์ที่ห่างไกล (Remote history) นอกจากนี้ เราอาจตั้งข้อสมมุติฐาน (Hypothesis) ว่า ผู้สูงอายุมากๆ อาจได้รับข่าวสารจากสื่อน้อยกว่า และผ่านประสาทสัมผัสที่เสื่อมถอยลง (Deteriorating senses)

ดังนั้น ในขณะที่ความทรงจำที่ห่างไกลอาจยังมีอยู่ (Exist) แต่การทดสอบมัน อาจเต็มไปด้วย (Fraught with) ด้วยความยากลำบาก และการวัดผลในรูปแบบบริสุทธ์ (Pure) [กล่าวคือไม่ถูกปนเปื้อน] ด้วยความรู้ทั่วไป อาจเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การวัดผล (Measure) อาจมีประโยชน์ในการประเมินผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม (Dementia) เนื่องจากความบกพร่องที่สั่งเกตเห็น (Notable error) อาจเกิดขึ้นในช่วงต้นๆ ของความเจ็บป่วย (Illness) ดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัย ทำคะแนนในกาทดสอบประธานาธิบดี ได้ต่ำลง (Impair) ในผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม แม้ในขั้นตอน (Stage) ต้นๆ ของการเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม ความทรงจำที่ห่างไกลกับชราภาพ ยังเป็นหัวข้อที่ได้รับการวิจัยน้อยอยู่ (Under-researched)

กล่าวโดยสรุป ความทรงจำเป็นปรากฏการณ์การรับรู้ (Cognitive) ที่มีความซับซ้อนยิ่งนัก (Extremely complex) นักจิตวิทยาได้แบ่งแยกมันออกเป็นหลายประเภทเพื่อให้เข้าใจง่าย หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ความทรงจำระยะยาว (Long-term) ซึ่งครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนานของการบันทึก (Encode) เก็บกัก (Store) และนำกลับมาใช้ (Retrieve)

การบันทึก คือกระบวนการของการนำความทรงจำใหม่เข้าสู่สมอง เมื่อเรามีอายุสูงขึ้น กระบวนการนี้จะเสื่อมถอยลง จึงเป็นการยากขึ้นที่จะนำความทรงจำใหม่ๆ เข้ามาในสมอง สำหรับการเก็บกัก เป็นการรักษาความทรงจำไว้ในคลังสมอง เมื่อเรามีอายุสูงขึ้น สมองของเราเริ่มชำรุด (Break down) และจุดเชื่อม (Connection) ของความจำเหล่านี้เริ่มสูญหาย

ส่วนการนำกลับมาใช้ เป็นการนำความทรงจำที่เก็บกักไว้ในคลังสมองออกมาใช้ เมื่อเรามีอายุสูงขึ้น เราจะประสบปัญหาการนำความทรงจำมาใช้ ทั้งความทรงจำในเร็ววัน (Recent) กับความทรงจำที่ห่างไกล (Distant) ความทรงจำอันหลังมักจะไม่เสื่อมถอยจนกว่าเราจะมีอายุสูงมากๆ

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. How Age Affects Long-Term Memory - http://study.com/academy/lesson/how-age-affects-long-term-memory.html[2016, February 21].