จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 95: ความทรงจำระยะยาว (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความทรงจำระยะยาว (Long-term memory : LTM) กับความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) เหมือนกัน (Identical) โดยพื้นฐาน ยกเว้นช่วงเวลา (Time gap) ระหว่างการนำเสนอรายการที่ควรจดจำ (To be remembered : TBR) และความแตกต่างในการระลึกถึง (Recall)

ในขณะที่ความแตกต่างในอายุของงานพื้นฐาน STM มีนัยสำคัญและผลกระทบ (Effect) เพียงเล็กน้อย แต่ในกรณี LTM มีผลกระทบที่เห็นเด่นชัด (Pronounced) ซึ่งอาจไม่น่าแปลกใจนัก เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ LTM ต้องรับการประมวลโดย STM ก่อน และข้อบกพร่อง (Defect) ใน STM อาจถูกขยาย (Magnified) ในระยะยาว ระหว่างที่รายการใน TBR ถูกเก็บไว้ (Stored) ใน LTM ก่อนมีการระลึกถึง

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในเร็วๆ นี้ในเรื่องชราภาพ ส่วนมากได้ดำเนินการเกินกว่า (Beyond) การศึกษาในห้องปฏิบัติการที่น่าเบื่อ (Arid) ของการดำรงรักษา (Retention) บัญชีรายชื่อคำและตัวเลข (Digit) โดยพลการ (Arbitrary) ไปยังงานความทรงจำที่เป็นจริง (Realistic) ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการตั้งราคารายการของชำ (Range of grocery) ที่ถูกหรือแพงอย่างไร้สาระ (Ludicrously) ผู้สูงอายุจะมีความสามารถต่ำกว่าผู้ใหญ่วัยต้น (Young adult) ที่จะจดจำราคาที่ไม่สมเหตุผล (Unrealistic) อย่างไรก็ตาม หากตั้งราคาของชำที่สมเหตุผลแล้ว ผู้สูงอายุจะสามารถจดจำได้พอๆ กับผู้ใหญ่วัยต้น

ความทรงจำที่ห่างไกล (Remote) หมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตนเอง (Auto-biographical) ซึ่งเกิดขึ้นภายในช่วงอายุตลอดชีวิต (Life-time) ความทรงจำนี้ มักถูกทดสอบกับผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) โดยให้รายชื่อหรือคำอธิบาย (Description) ของเหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวในช่วงเวลา 50 ปีขึ้นไป แล้วถามเขาว่า จดจำเหตุการณ์อะไรได้บ้างตัวอย่างหนึ่ง คือการทดสอบรายชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่ว (Famous names test : FNT) ผู้เข้าร่วมการวิจัยเพียงระบุชื่อที่เขาจำได้

  • กลุ่มของผู้คนที่มีชื่อเสียงในแต่ละคริสต์ทศวรรษ จาก 1930s จนถึง 1970s
  • กลุ่มของผู้คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อาทิ วินสตัน เชอร์ชิล [นายกรัฐมนตรีอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2] ซึ่งหากจำไม่ได้ ก็แสดงอาการของสมองเสื่อม (Dementia)
  • กลุ่มผู้มีชื่อปลอม (Fictitious)

รายชื่อในบัญชีข้างต้นได้รับการนำเสนอโดยไร้รูปแบบ (Scrambled) และผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับคำเตือนว่า บางชื่อเป็นคำลวง (Fake) เพื่อป้องกันมิให้มีการโกงโดยอ้างว่า เขารู้จัก (Recognize) ทุกๆ คนที่มีชื่ออยู่ในบัญชี นักวิจัยทดสอบผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีอายุระหว่าง 50 ถึง 80 ปี ในเรื่อง FNT และพบว่ารายชื่อในเร็ววันนี้ (Recent) ได้รับการจดจำที่ดีกว่ารายชื่อที่ห่างไกล

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. How Age Affects Long-Term Memory - http://study.com/academy/lesson/how-age-affects-long-term-memory.html[2016, February 7].