จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 93: ความทรงจำระยะสั้น (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

มีหลากหลายสาเหตุที่อธิบาย ช่วงอายุในการจำย้อนหลัง (Backward span) ของผู้สูงวัยที่เสื่อมถอยลง (Poorer) หนึ่งในการอธิบายก็คือ รายการ (Item) ในบัญชีรายชื่อเหมือนกัน (Identical) ระหว่างการจำไปข้างหน้า (Forward) กับ การจำสลับกัน (Reverse) จึงเป็นการง่ายที่จะสับสนระหว่างการจำ 2 รูปแบบนี้ จนเป็นส่วนผสมที่บิดเบือน [ความจริง] (Garbled amalgam)

ทฤษฎี “ความบกพร่องของการลบล้างหรือขัดขาง” (Inhibitory deficit) อธิบายความไม่สามารถลบล้างหรือขัดขวางข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง (Irrelevant) เพื่อแยกแยะออกจากข้อมูลที่จำเป็น (Necessary) สิ่งนี้บ่งบอก (Imply) ถึงปัญหาที่เกิดจาการทำงานของสมองกลีบหน้า (Frontal-lobe functioning) ซึ่งเสื่อมถอยลง [ตามสังขารณ์] แต่มีอิทธิพลสำคัญต่องานการรับรู้ (Cognitive task) อันรวมทั้งความทรงจำ

ทฤษฎีนี้ ยังแสดงให้เห็นการใช้ความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory) ของผู้สูงอายุ ซึ่งเสื่อมลงอย่างไม่ได้สัดส่วน (Disproportionately) [กล่าวคือ รวดเร็วกว่าสังขารณ์ที่ร่วงโรย] จนไม่สามารถ “ลบล้างออก” (Flush out) ซึ่งบัญชีรายชื่อของคำที่ควรจดจำ (To be remembered : TBR) ก่อนที่จะถูกทดแทนโดยความทรงจำในรายการบัญชีรายชื่อ TBR ใหม่

นักวิจัยอื่นก็พบว่า ผู้สูงอายุประสบความยุ่งยากในการแยกแยะระหว่างรายการจาก TBR ก่อนหน้านี้ กับรายการในบัญชีรายชื่อปัจจุบัน นักวิจัยยังมีการประยุกต์ใช้ ทฤษฎี “ความบกพร่องของการลบล้างหรือขัดขวาง” ในกระบวนการทางจิต (Mental process) อื่นๆ นอกเหนือจากความทรงจำ

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยผู้หนึ่งได้แสดงให้เห็นอย่างแยบยล (Ingeniously) ถึงบทบาทของทฤษฎี “ความบกพร่องในการลบล้างหรือขัดขวาง” ข้อความเท็จ (False statement) เพื่อแยกแยะออกจากคำอุปมาอุปไมย (Metaphor) และนักวิจัยอีกผู้หนึ่งได้ใช้ทฤษฎีนี้ในการอธิบายว่า ทำไมผู้สูงอายุจึงเสื่อมถอย (Impaired) อย่างรวดเร็ว ในการลบล้างหรือขัดขวางการสนองตอบที่ได้รับการฝึกปรือมาเป็นอย่างดี (Highly practiced) ก่อนหน้านี้?

ประจักษ์หลักฐาน (Evidence) จากการฉายภาพสมอง (Brain scan) แสดงว่า ปรากฏการณ์ (Phenomenon) ดังกล่าวเกิดจาก (Attributed to) ความล้มเหลวของสมองผู้สูงอายุในการลบล้างหรือขัดขวางกิจกรรมที่สัมพันธ์ (Associated) กับสิ่งเร้าที่ไม่เกี่ยวข้อง (Irrelevant response)

มีการกล่าวถึง (Cite) ทฤษฎี “ความบกพร่องของการลบล้างหรือขัดขวาง” อย่างกว้างขวาง แต่ (เช่นเดียวกับข้อสมมุติฐาน [Hypothesis] อื่นๆ ในจิตวิทยาชราภาพ) ไม่มีประจักษ์หลักฐานของทฤษฎีนี้ในทุกกรณีของการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาวะความทรงจำ ผลลัพธ์นี้อาจสะท้อนถึงปัญหาของขั้นตอนการทดลอง (Experimental procedure) มากกว่าตัวทฤษฎี แต่ในทางกลับกัน (Reverse) ตัวทฤษฎีก็เองต้องพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นเท็จ (Unfalsifiable)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Short-Term Memory - http://www.brainhq.com/brain-resources/memory/types-of-memory/short-term-memory[2016, January 24].