จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 9 : การสูญเสียความทรงจำ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

พอลลี่ แวน เบ็นธิวเซ่น (Polly van Benthusen) ทำงานในสำนักงานประกันสังคม (Social Security) เป็นเวลา 28 ปี เมื่อใดก็ตามที่มีคนอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับกรณีนับร้อยๆ ราย ทุกคนก็จะพูดว่า “ถามพอลลี่ซิ เธอจำได้หมดทุกอย่าง” ดังนั้น เธอถึงกับตกตะลึง (Shock) เมื่อพบว่า ความจำที่ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังกำลังสูญเสียไป ขณะที่อายุเธอเพียง 42 ปี

เธอไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้อีกต่อไป หรือแม้กระทั่งไปสามารถนำเสนองานต่อหน้าผู้อื่น (Presentation) โดยปราศจากรายละเอียดในมือ เธอจึงเริ่มกังวล “ฉันกำลังสูญเสียความทรงจำทีละเล็กละน้อย ให้ตายซิ นี่มันเกิดขึ้นกับฉันได้อย่างไร?” เธอยังจำได้ว่า เคยหัวเราะเยาะพ่อแม่ของเธอเอง ที่ลืมสิ่งของเป็นประจำ แต่มันกำลังเกิดขึ้นกับเธอ

เช่นเดียวกับพอลลี่ ทุกๆ วัน จะมีชาวอเมริกัน 10,000 คน ที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Baby boomer) เริ่มย่างเข้าสู่อายุ 50 ปี และพบว่า เขาหรือเธอ ไม่สามารถจำได้ว่า วางกุญแจไว้ที่ไหน? เพื่อนใหม่ๆ ชื่ออะไร? และเดินจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง โดยลืมไปว่ากำลังค้นหาอะไร?

ผู้สูงอายุเหล่านี้ พบว่า เขาไม่สามารถจำชื่อเพลงเก่า นักแสดงภาพยนตร์ หรือชื่อหนังสือ “ติดอยู่ริมฝีปาก” (Tip of tongue) และเกลียดชังการค้นหาคำที่เคยรู้ เพียงแต่ลืมไปชั่วขณะ (Momentary) บางครั้ง ปัญหาความทรงจำเกิดจากการสูญเสียความเร็วในการประมวลข้อมูล (Processing speed) หมายความว่า การทบทวนความจำสิ่งที่เคยรู้ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ต้องใช้เวลายาวนานขึ้น และความพยายามมากขึ้น

แม้ว่า ผู้สูงอายุดังกล่าว จะรู้สึกรำคาญใจในเรื่องความทรงจำ แต่สิ่งที่พวกเขาหวาดกลัว ก็คือ ปัญหาความทรงจำอาจเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เลวร้ายกว่านั้น นั่นคือ โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) ซึ่งมีสาเหตุจากการสูญเสียของเซลล์สมองที่ทวีปริมาณ (Progressive damage) อันส่งผลให้เกิดการสูญเสียในการรับรู้ที่ทวีความรุนแรง (Progressive loss) จนกลายเป็นการสูญเสียความทรงจำที่หายไปเรื่อยๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การสูญเสียความทรงจำดังกล่าว เป็นความปรกติตามสังขารณ์ และมักมิใช่สัญญาณ (Sign) ของโรคอัลไซเมอร์ส ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 5% ของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ปัญหาดังกล่าว ก็เป็นแรงผลักดันให้มีการใช้เงินนับร้อยๆ ล้านดอลลาร์ในการ “สร้างเสริมความทรงจำ” (Memory booster) ด้วยนานายาและอาหารเสริมสมุนไพร (Herbal supplement) ที่เสริมสร้างพลังสมอง แต่ตราบจนทุกวันนี้ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคำกล่าวอ้าง

วิธีการเดียวเท่าที่รู้กัน สำหรับผู้สูงวัยในการดำรงไว้ซึ่งความทรงจำในบรรดาผู้สูงอายุ ก็คือการรักษาร่างกายให้แข็งแรง (Physically fit) (อาทิ ออกกำลังกาย) การเพิ่มการกระตุ้นจากจิต (Mental stimulation) (อาทิ อ่านหนังสือ) และการควบคุมชีวิตของตนเอง (อาทิ มองโลกในแง่บวก)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Memory and aging - http://en.wikipedia.org/wiki/Memory_and_aging [2015, June 16].