จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 88: ชราภาพกับความทรงจำ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การศึกษาในเรื่องจิตวิทยาของความทรงจำ (Psychology of memory) ได้สร้างแนวความคิด (Concept) และคำศัพท์ทางเทคนิคจำนวนมาก ความเชื่อของคนธรรมดา (Lay people) ก็คือ ความทรงจำเป็นทักษะ “เอกพันธ์” หรือ “เนื้อเดียวกัน” (Homogeneous) กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการจดจำด้วยหนทางเดียวกัน

ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะลำพังการวิจัยทางสรีรวิทยา (Physiological research) ก็สาธิต (Demonstrate) ให้เห็นว่า รูปแบบที่แตกต่างกันของความทรงจำ (อาทิ คำ รูปภาพ และทักษะทางกายภาพ) ล้วนได้รับการเก็บ (Store) ตามกายวิภาค (Anatomically) ไว้ในส่วน (Section) ต่างๆ ของสมอง

นอกจากนี้ นักจิตวิทยา (Psychologist) ยังค้นพบว่า ระบบความทรงจำยัง “วางตัว” (Behave) ในหนทางที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อนักวิจัยพูดถึงความทรงจำด้วยวาจา (Verbal) หรือทัศนา (Visual) เขาจะมีความเชื่อมมั่น (Confident) ว่ากำลังอภิปรายระบบต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด (Distinct) ของกายวิภาค และการทำงาน (Functioning)

หนทางหนึ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับการแยกประเภท (Categorization) ความทรงจำ ก็คือโดยความยาวของช่วงเวลา (Length of time) ที่สามารถดำรง (Retain) ความทรงจำ และนี่มักจะเป็นหนทาง (Means) ของการแบ่งเป็นความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) และควาทรงจำระยะยาว (Long-term memory : LTM)

STM เป็นการเก็บชั่วคราว (Temporary storage) ของเหตุการณ์และรายการ (Item) ที่มองเห็น (Perceived) ในอดีตที่เพิ่งผ่านพ้นไป (Immediate past) อาจเป็นเพียง 2 – 3 นาทีที่แล้ว หรือ 2 – 3 วินาทีด้วยซ้ำ การทดสอบตามปรกติ (Classical test) ต้องอาศัยผู้ทดสอบ (Experimenter) อ่านเสียงดังรายชื่อตัวอักษร ตัวเลข หรือคำพูด แล้วให้ผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ทวนตาม (Repeat)

ช่วงเวลาที่ยาวนานสุด (Span) อาจแตกต่างกัน (Vary) ตามลักษณะ (Nature) ของรายชื่อที่ต้องจดจำ และมักจะมีคำนำหน้า (Prefix) ที่แสดงวัสดุที่ใช้ในการทดสอบ อาทิ ช่วงความทรงจำตัวเลข (Digit span) และช่วงความทรงจำคำพูด (Word span) อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัญหาของการทดลองช่วงเวลาตามปรกตินี้ ก็คือ ความไม่สมจริง (Unrealistic) เพราะผู้คนมิได้ใช้เวลามากมายในการเรียนรู้รายชื่อที่ไร้กฎเกณฑ์ (Arbitrary list) และ STM เป็นสิ่งที่ไม่ถาวร (Impermanent) ดังนั้นควาทรงจำจะเลือนหาย (Fade) ภายในเวลาสั้นๆ (Brief) เว้นแต่จะมีความพยายามพิเศษ (Especial effort) [ในการจดจำ]

คำอธิบายยอดนิยม (Popular) ว่า ทำไมจึงมีการเก็บรักษาระยะสั้น? วิธีการทำงาน (Function) ของ STM ก็คือแบบจำลองของ แบดเดลี่กับฮิตช์ (Baddeley and Hitch Model) ซึ่งนิยาม “ความทรงจำของการทำงาน” (Working memory) ไว้ว่า “เป็นการเก็บข้อมูลชั่วคราวที่จำเป็นต่อนานากิจกรรม อาทิ การเรียนรู้ การใช้เหตุผล และความเข้าใจ (Comprehension)”

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Memory and aging - https://en.wikipedia.org/wiki/Memory_and_aging[2016, December 21].