จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 86: บทสรุปเชาว์ปัญญา (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

มาตรวัด (Measure) จำนวนมากที่แสดงการเสื่อมถอยของเชาว์ปัญญาในผู้สูงอายุ เป็นมาตรวัดทางจิตวิทยา (Psycho-metric) หรือการศึกษาในห้องทดลอง (Laboratory) ที่ควบคุมเงื่อนไขอย่างรัดกุม (Tightly control) ในเบื้องต้น การศึกษาดังกล่าวดูเหมือน (Appear) จะหาที่ตำหนิ (Reproach) มิได้ เพราะมีมาตรฐานที่เข้มงวด (Rigorously standardized) และ/หรือ มีตัวแปรกวน (Confounding variable) ต่ำสุดๆ (Minimum) แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา

จุดมุ่งหมายสำคัญของมาตรวัดทางจิตวิทยา คือความเที่ยงตรงทางวัฒนธรรม (Cultural fair) กล่าวคือ สามารถเข้าถึงได้ (Accessible) อย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้คนจากทุกภูมิหลัง (Background) ดังนั้น ปัจจัย (Element) การทดสอบที่มีผลกระทบ (Bearing) ต่อชีวิตจริง มักถูกลบทิ้ง (Expunge) อย่างเข้มงวด เพราะเกรงว่า (Lest) จะมีความได้เปรียบอย่างไม่เที่ยงตรง (Unfairly advantaged)

ผลลัพธ์สุทธิ (Net result) ก็คือ การทดสอบดังกล่าวมักไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง (Direct relevance) ต่อโลกแห่งความเป็นจริง และนักวิจัยจำนวนไม่น้อย (Numerous) ที่สังเกตเห็นสหสัมพันธ์ที่ต่ำระว่างการทดสอบมาตรฐานในเชาว์ปัญญากับความสามารถในชีวิตจริง ท่ามกลางความหลากหลาย (Variety) ของเงื่อนไข

ดังนั้น การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญาในบั้นปลายของชีวิตมักถูกลดคุณค่า (Compromise) จากความจริงที่ว่า มันตั้งอยู่บนพื้นฐานการทดสอบที่มีขีดจำกัดในการประยุกต์ใช้ (Applicability) กับโลกที่ผู้คนจริงดำรงชีวิตอยู่ แทนที่จะเป็นการทดสอบของผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant)

ตัวอย่างเช่น มีหลายปัจจัย (Factor) ที่เรารู้ว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาทิ การศึกษามีผลกระทบน้อยต่อการวิจัย (ที่ได้รับการควบคุมอย่างรัดกุม) ในเรื่องการวัดผลทางจิตวิทยาของเชาว์ปัญญา ซึ่งนำเสนอโดยนักวิจัยจำนวนมากที่ได้พิสูจน์ (Proof) แล้วว่า เป็นมาตรวัดที่บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งด่างพร้อย (Unsullied) จากผลกระทบทางวัฒนธรรม

มีความเป็นไปได้ว่า ประสบการณ์อาจไม่สามารถป้องกันการเสื่อมถอยได้ แต่อาจบดบัง (Obscure) การแสดงออก (Manifestation) ของการเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกลุ่มผู้คน ณ ทุกระดับของประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญ (Expertise)

แต่ถ้าประสบการณ์ที่มากกว่า มีความเกี่ยวข้อง (Associated) กับระดับที่สูงขึ้นของผลการรับรู้ (Cognitive performance) ประสบการณ์นั้น มักจะมาพร้อมกับ (Accompanied by) อายุที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำงานชดเชย (Functionally offset) บางส่วนของความเสื่อมถอยดังกล่าว

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Intelligence and the Older Adult - http://community.advanceweb.com/blogs/ltc_2/archive/2012/06/25/intelligence-and-the-older-adult.aspx [2016, December 6].