จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 81: ความคิดสร้างสรรค์ในผู้สูงวัย (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นเลิศ (Eminent) แล้ว การให้รางวัลความสำเร็จจากงานใดงานหนึ่ง ด้วยตำแหน่งของผู้บริหารมักเป็นสิ่งที่จำกัด (Restrict) กิจกรรมของเขาในอนาคต และเป็นสาเหตุการเสื่อมถอยในผลงานสร้างสรรค์ (Creative output) ดังนั้นจึงควรมี “กลุ่มค่านิยม” (Set of values) ของรางวัลที่แตกต่าง ดังตัวอย่างจากวงการศิลปะ (Arts)

ตัวอย่างแรก ความสำเร็จ [หรือล้มเหลว] ของศิลปิน (ไม่ว่าสาขาไหน) ขึ้นอยู่กับคำติชมของสาธารณชน (Public opinion) ดังนั้นคุณค่า (Worth) ของนักออกแบบแฟชั่น จึงขึ้นอยู่กับว่า อะไรคือความนิยมในขณะนั้น (Fashionable)? และในเรื่องความคิดสร้างสรรค์นั้น ผู้คนมองเขาว่า เป็นผู้นำนักแปลผล (Interpreter) ของแฟชั่น และ/หรือ ผู้สร้างสรรค์แฟชั่น

ตัวอย่างที่ 2 ศิลปินโดยทั่วไป พอมีแหล่งรายได้ค้ำจุน ในกรณีที่ผลงานด้านศิลปะ (Craft) ยังไม่เป็นที่นิยม แต่ถ้าเขาไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงต้นของวัยทำงาน (Career) เขามีแนวโน้มที่จะถอนตัว (Withdraw) จากกิจกรรมสร้างสรรค์เต็มเวลา (Full time) แล้วแสวงหาอาชีพอื่นแทน

หลักฐาน (Premise) จาก 2 ตัวอย่างนี้ แสดงว่า ผู้สร้างสรรค์จะ “ฉายแวว” ให้เห็น (Noticed) ทักษะผู้ชำนาญ (Exponent) ทางศิลปะ ตั้งแต่ช่วงต้นของวัยทำงาน ศิลปินแสวงหาหนทางใช้ “ทุนเดิม” นี้ ให้เป็นประโยชน์ (Capitalize) [แล้วเริ่มสะสมการเรียนรู้จนเป็นประสบการณ์ที่ทรงคุณค่า]

อย่างไรก็ตาม ความนิยมชมชอบของสาธารณชนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ จึงเกือบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable) ที่ศิลปินอาจต้องกลายเป็นตัวแทน (Representative) ของการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ไม่เป็นที่นิยม (Unfashionable) อีกต่อไป กล่าวคือศิลปินที่ประสบความสำเร็จ จะถูกรอกยกขึ้น (Hoist) เหมือนก้อนหิน โดยเครื่องมือที่จะเขวี้ยงใส่ประตูป้อมในสมัยโบราณ

หนทางอยู่รอดของศิลปิน จึงอยู่ที่การเคลื่อนไหวไปตามสิ่งที่เป็นยอดนิยม ซึ่งอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical change) ผลงานที่ออกมา (Output) อาจได้รับผลกระทบอย่างมาก ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปในแต่ละวงการ (Discipline) ใครที่ติดตามดนตรียอดนิยม (Pop music) จะทราบดีว่า วงจรชีวิตของมันเกิดขึ้นทุกๆ 3 – 4 ปี

การทบทวนวรรณกรรมย้อนยุคจะพบว่า ไม่ว่าจะเป็นวงการไหน จะมีเพียงศิลปินอัจฉริยะ (Genius) 2 – 3 คนเท่านั้น ที่สามารถผลิตผลงาน “อมตะ” (Timeless) อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงง่ายที่เหมือนปรอท (Mercurial) ของความนิยม

ดังนั้น การเสื่อมถอยของผลงานสร้างสรรค์ตลอดชีวิต (Life-span) ของศิลปิน จึงมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต (Life-style) และของความต้องการ (Demand) ในผลงานชิ้นเอก มากกว่าอายุที่สูงขึ้น อันที่จริง ผู้สูงอายุอาจสูญเสียความคิดสร้างสรรค์ มิใช่เพราะชราภาพ แต่เพราะผลงานของเขาดีเยี่ยมเกินไปในช่วงต้นของวัยทำงาน

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Creativity - https://en.wikipedia.org/wiki/Creativity [2016, November 1].