จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 79: ความคิดสร้างสรรค์ในผู้สูงวัย (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

คำตอบที่สร้างสรรค์ อาจเป็นการใช้ก้อนอิฐขัดถูพื้นผิว (Scrape the surface) เพื่อให้เกิดผงสีแดง (Rouge) ซึ่งเป็นความคิดที่แปลกใหม่และสามารถทำได้ (Feasible) ผู้สูงวัยที่นำเสนอคำตอบที่สร้างสรรค์ มักมีความคิดที่ออกนอกลู่นอกทาง (Divergent) กล่าวคือ ในสถานการณ์ธรรมดา เขาสามารถมองออกนอกลู่นอกทางจากความคิดกระแสหลัก (Mainstream) ได้

การวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมักไม่สันทัดในงานที่ออกนอกลู่นอกทาง เสนอคำตอบที่น้อยกว่า และ/หรือ ในอัตราที่ต่ำกว่า คะแนนทดสอบของเขาจะสูงสุด (Peak) เมื่ออายุ 40 ปี อาจอธิบายได้ว่า เนื่องจากทักษะทางเชาว์ปัญญา (Intellectual skill) ร่อยหรอลง (Depleted) ตามสังขารณ์ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างตามอายุ (Age difference) ยังคงมีอยู่ (Persist) เมื่อเปรียบเทียบระดับการศึกษาและเชาว์ปัญญาระหว่างวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant)

ในบรรดาผู้คนที่มักมีความคิดสร้างสรรค์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ความแตกต่างตามอายุอาจมีผลกระทบน้อย (Lessened) หรือไม่มีเลย (Absent) นักวิจัยโต้แย้งว่าโดยทั่วไป ความคิดออกนอกลู่นอกทาง จะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยลงในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Creative process) เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนบุคคล (Personal)

อีกหนทางหนึ่งของการพิจารณาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือวิธีการทางชีวภาพ (Biological approach) โดยนักวิจัยศึกษาชีวิตของผู้นำที่ได้รับการยอมรับ (Acknowledged leader) ในนานาแขนงของกิจกรรม (Fields of activity) แล้วตรวจสอบ (Examine) ความคิดริเริ่มดั้งเดิม (Originality) ที่ทรงคุณค่า (Highly prized) ของบุคคลเหล่านั้น เพื่อค้นหาว่า อะไรทำให้เขาเหล่านั้น “เหนือกว่า” ผู้อื่น? จากนั้นก็รวบรวม (Glean) เป็นบทสรุปโดยทั่วไป (Generalization) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ศิลปินและนักดนตรี มีแนวโน้มที่จะแสดง (Display) ความเป็น “หัวกะทิ” (Talent) ตั้งแต่วัยเด็ก อาทิ โมสาร์ต (Mozart) ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ มักอยู่ในช่วงวัย 20 ปีเศษ ก่อนที่จะ “ฉายแวว” (Show sign) ของความสามารถที่เด่นชัด (Outstanding) บุคคลที่มีความโดดเด่น (Eminent) ล้วนได้สร้างคุณประโยชน์ (Contribution) ก่อนเริ่มชราภาพ

นักวิทยาศาสตร์ที่มีสมรรถนะ (Competency) สูง มักมิได้เป็นนักเรียนที่โดดเด่นในชั้นเรียน จนกว่าสาขาวิชาที่เขาเชี่ยวชาญ (Area of specialization) เริ่มทำให้เขาสร้างจินตนาการ (Imagination) ที่เป็นเลิศ (Pre-eminent) ได้ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เป็นตัวอย่างที่มีมาแต่ดั้งเดิม (Classic) สำหรับหลากหลายสาขา (Diverse disciplines) อื่นๆ อาทิ คณิตศาสตร์ เคมี (Chemistry) และการแต่งเพลง (Music composition)

เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลงานที่ยิ่งใหญ่ (Great) และธรรมดา (Routine) มักถูกผลิตขึ้น (Produced) เป็นคู่ขนาน (Tandem) กล่าวคือ ในช่วงที่มีผลงานมากมาย (Prolific period) นักสร้างสรรค์ จะผลิตผลงานที่ยิ่งใหญ่และธรรมดาเป็นอัตราส่วนคุณภาพ (Quality ratio) เดียวกันกับช่วงที่ไม่ค่อยมีผลงานมากนัก (Unproductive period)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Creativity - http://groups.psych.northwestern.edu/waxman/conceptualorganization.pdf [2016, October 18].