จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 73 : สมาธิในผู้สูงอายุ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

สมาธิ (Attention) คือความสามารถในการจดจ่อ (Concentrate) หรือจดจำ (Remember) รายการ แม้จะมีสิ่งเร้า (Stimulus) ที่ทำให้เบี่ยงเบน (Distract) ความสนใจ ซึ่งอาจต้องได้รับการประมวลผลในจิตใจ (Mentally processed) ในเวลาเดียวกัน (Simultaneous) สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) มักได้รับการกล่าวถึง (Cited) ว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสมาธิ

สมาธิแสดงออก (Manifest) ในหลากหลายรูปแบบ ความสามารถในการจดจ่อต่องานที่ทำ (Task at hand) โดยไม่เบี่ยงเบน เรียกว่า “สมาธิจรรโลง” (Sustained attention) การทดสอบที่เป็นแบบอย่าง (Typical test) อาจเป็นการให้ผู้เข้ารับการวิจัยสนองตอบทุกๆ ครั้งที่ตัวอักษรปรากฏขึ้น จากตัวอักษรที่ไหลอย่างต่อเนื่อง (Continuous stream) บนจอคอมพิวเตอร์

ความสามารถในการจรรโลงสมาธิ จะได้รับการดำรงรักษา (Preserve) ในช่วงปลายของชีวิต อย่างไรก็ตาม ก็มีความสูญเสียบางส่วน แต่การวัด (Gauge) ขอบเขตของการสูญเสียที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากนานามาตรวัด นำเสนอตัวแปรกวน (Confounding) ที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ความเสื่อมถอย (Decline) อาจเป็นผลิตผล (Product) ของสิ่งเร้าในการทดสอบ (Test stimulus) ที่ยากต่อการค้นพบ (Detect) โดยผู้สูงอายุที่เข้ารับการวิจัย ภายใต้เงื่อนไขอื่นๆ ที่มิใช่การขาดสมาธิ นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังชอบงานที่ใช้สมาธิในการเพ่ง (Visual attention) ในวงแคบ มากกว่าในวงกว้าง

“สมาธิเลือกสรร” (Selective attention) หมายถึงความสามารถในการจดจ่อต่องานที่ทำในขณะที่มีสิ่งเร้าอื่นที่อาจทำให้เบี่ยงเบนความสนใจ วิธียอดนิยมในการทดสอบนี้ เรียกว่า “งานค้นหาด้วยสายตา” (Visual search task) โดยแสดง (Display) ให้ผู้เข้ารับการวิจัยเห็นนานาตัวอักษร แล้วให้เขาค้นหาตัวอักษรเฉพาะ

อีกวิธีหนึ่งเรียกว่า “งานภาพลายตา” (Stoop task) ซึ่งผู้เข้ารับการวิจัยต้องแยกแยะคุณลักษณะ (Feature) หนึ่งของสิ่งเร้า โดยเพิกเฉยคุณลักษณะอื่น ในขั้นพื้นฐาน ผู้เข้ารับการวิจัยต้องแยกแยะสีของคำที่พิมพ์ไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างง่าย เว้นแต่คำที่พิมพ์เป็นชื่อของสีที่แตกต่างกัน อาทิ คำว่า “สีแดง” พิมพ์ด้วยหมึกสีน้ำเงิน และผู้เข้ารับการวิจัยต้องตอบว่า “สีน้ำเงิน”

อย่างไรก็ตาม มีบางวิจัยที่ไม่สามารถแสดงผลลัพธ์เดียวกัน หรือแสดงผลลัพธ์ในทางตรงกันข้ามด้วยซ้ำ เนื่องจากผู้สูงอายุ มิได้ใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะในการทดลอง อาทิ มิได้ใช้ข้อมูลที่สื่อสาร (Convey) ด้วยแถวเรียงที่มองเห็น (Visual array) หรือมิได้สนองตอบให้เร็วขึ้นต่อเป้าหมาย (Target) ที่ปรากฏในตำแหน่งซ้ำ (Repeatedly same position)

เช่นเดียวกับการศึกษาเรื่องสมาธิจรรโลง ขอบเขตของการเสื่อมถอยของผู้สูงอายุ ในสมาธิเลือกสรร ดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับวิธีและการออกแบบการทดลอง (Experimental method and design) อาทิ ขนาด (Size) รูปร่าง (Shape) และความสว่าง (Brightness) ของสิ่งเร้า

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Attention and ageing - http://gazzaleylab.ucsf.edu/wp-content/uploads/2014/09/oxfordhb-Attention-and-Aging.pdf [2016, September 6].