จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 68 : ปริมาตรสมองกับเชาว์ปัญญา (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ดังนั้น ประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ค่อนข้างแน่ชัด (Strong) ว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างปริมาตรสมอง กับผลลัพธ์ทางเชาว์ปัญญา (Intellectual performance) ในช่วงปลายของชีวิต แต่ก็ต้องใช้วิจารณญาณอย่างระมัดระวัง (Exercise caution) ด้วยเหตุผล 3 ประการ

ประการแรก มาตรวัดจำนวนไม่น้อยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้เสื่อมถอยลงในช่วงปลายของชีวิต การค้นพบการเสื่อมถอยคู่ขนาน (Tandem) นี้ไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจนัก แม้จะมีเหตุผลอันสมควร (Logical grounds) ที่เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสมอง จะมีผลกระทบต่อความสามารถทางจิตใจ แต่ขนาดของสหสัมพันธ์ (Correlation size) แสดงว่า อาจมีตัวแปร (Variable) อื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในอายุด้วย

ประการที่ 2 เป็นคำเตือน (Caveat) ว่า การอ่านรายงานของการเปลี่ยนแปลงในสมอง อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า การถ่ายภาพ (Scan) สมอง สามารถผลิตภาพที่ชัดเจนของโครงสร้างสมอง ทั้งในแง่เปรียบเทียบ (Metaphorical) และในข้อเท็จจริง (Literal) อันที่จริง กระบวนการทั้งหมดมีความซับซ้อน และการวัดผลมักต้องรวบรวม (Glean) จากวิเคราะห์ทางสถิติขั้นก้าวหน้า (Advanced) แทนที่จะปรากฏระจักษณ์หลักฐานที่เชื่อถือได้ (Valid) ทันที

งานวิจัยจำนวนมากในด้านโครงสร้างสมอง ยังอยู่ขั้นทารก (Infancy) จึงมีช่องว่างที่กว้างมาก (Considerable gap) ในความรู้ของเรากับการโต้แย้ง (Debate) ในเรื่องวิธี (Technique) ที่ดีที่สุดสำหรับการวัดผลการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเราจึงต้องระมัดระวังในการสร้างความเชื่อมโยงโดยอัตโนมัติระหว่างตัวแปร (Variable)

ประการที่ 3 เป็นคำเตือนที่จับต้อง (Tangible) ไม่ค่อยได้ว่า ความรู้สึกอันท่วมท้น (Overwhelming impression) ที่ได้รับจากการอ่านวรรณกรรม (Literature) เรื่องปริมาตรของสมอง ทำให้ผู้คนคิดว่า การเสื่อมถอยทางจิตใจเป็นวาระ (Doom) ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable) เพราะการเปลี่ยนแปลงของสมองเป็นสิ่งที่หยุดยั้งไม่ได้ (Unstoppable) ซึ่งไม่ใช่เป็นความจริงทั้งหมด เนื่องจากสหสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรสมองกับทักษะทางจิตใจ มิได้มีมากจนปิดกันอิทธิจากปัจจัยอื่นๆ

ผลงานวิจัยยังแสดงว่า วิถีชีวิต (Life style) สามารถชดเชย (Offset) การเปลี่ยนแปลงของอายุในปริมาตรสมอง ตัวอย่างเช่นการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ปริมาตรของสสารสีเทาในช่วงปลายของอายุมีสหสัมพันธ์ที่เป็นบวกกับระดับการออกกำลังกายในผู้ใหญ่วัยกลาง (กล่าวคือ ยิ่งออกกำลังกายมาก ยิ่งมีสสารสีเทามาก) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวในสสารสีขาว

นอกจากนี้ การวิจัยยังแสดงวว่า ระดับของไขมันที่มากเกินไปในร่างกาย มีความสัมพันธ์กับปริมาตรสมองที่ลดลงในผู้ใหญ่วัยกลาง กล่าวคือ การกินมากเกินไปจะทำให้สมองฝ่อลง (Shrink) พร้อมด้วยผลที่ตามมา (Consequence) ของผลกระทบต่อการทำงานของเชาว์ปัญญาในบั้นปลายของชีวิต

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Neuroscience and intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Neuroscience_and_intelligence [2016, August 2].