จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 64 : เวลาสนองตอบ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

เวลาสนองตอบ (Reaction time : RT) คือเวลาที่ใช้ในการสนองตอบ (Respond) ต่อสิ่งเร้า (Stimulus) วัดโดยระยะเวลาระหว่างเมื่อสิ่งเร้าปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกกับเมื่อบุคคลเริ่มสนองตอบ ในกรณีส่วนใหญ่ สิ่งเร้าเป็นภาพลักษณ์ (Image) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสนองตอบโดยการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ (Keyboard)

ในการทดลองขั้นพื้นฐาน อาจมีวิธีเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) ได้หลากหลาย อาทิ การพูดใส่ไมโครโฟนและการใช้เท้ากดปุ่ม [เพื่อหยุดเวลาที่จับอยู่] สิ่งเร้าอาจเป็นเครื่องมือจับอารมณ์ความรู้สึก (Sensory modality) อาทิ เสียง (Sound) อย่างไรก็ตาม ทุกวิธีมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ วัดผลว่าบุคคลสามารถสนองตอบได้รวดเร็วแค่ไหน โดยที่ RT ยิ่งต่ำ การสนองตอบยิ่งเร็ว นอกจากนี้การศึกษา RT ยังแยกแยะได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • เวลาสนองตอบอย่างง่าย (Simple reaction time : SRT) – วัดความเร็ว (Speed) ของการสนองตอบ เมื่อมีเพียงสิ่งเร้าเดียว และการสนองตอบเดียว อาทิ การกดปุ่ม ทุกๆ ครั้งที่มีแสงไฟกระพริบ
  • เวลาสนองตอบอย่างมีทางเลือก (Choice reaction time : CRT) – วัดความเร็วของการสนองตอบ เมื่อมีสิ่งเร้าหลากหลายที่ต้องการการสนองตอบที่หลากหลายเช่นกัน อาทิ กดปุ่ม A เมื่อไฟสีแดงกระพริบ กดปุ่ม B เมื่อไฟสีเขียวกระพริบ หรือกดปุ่ม C เมื่อไฟสีเหลืองกระพริบ

เนื่องจากการทดลอง CRT ต้องการการตัดสินใจมากกว่าการทดลอง SRT เวลาการสนองตอบของ CRT ก็จะยาวนานกว่า SRT เพราะเมื่อจำนวนสิ่งเร้าที่จะถูกเลือกมีมากขึ้น เวลาเฉลี่ย (Mean) ของการสนองตอบก็ยาวนานขึ้นเช่นกัน และก็เป็นที่ทราบกันว่า เวลาสนองตอบจะช้าลง เมื่อผู้คนมีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เชื่อถือได้มากที่สุดในชีวิตของมนุษย์

นอกจากนี้ ความแตกต่างของอายุจะมากขึ้นเป็นสัดส่วน (Proportionately) กับจำนวนทางเลือกที่มีมากขึ้น ในกรณี CRT ซึ่งสามารถอธิบายปรากฏการณ์ (Phenomenon) ได้ว่า ระบบประสาท (Nervous system) ของผู้สูงอายุทำงานได้ช้าลง และได้ประสิทธิผลน้อยลงในการส่งสัญญาณ (Conducting signal) ผลเสีย (Disadvantage) จากทางเลือกที่มากขึ้น แสดงออก (Manifestation) ซึ่งผลกระทบจากความซับซ้อนของชราภาพ (Age x complexity effect)

ข้อยกเว้นหลัก (Principal exception) ของกฎเกณฑ์ข้อนี้ก็คือ ถ้าผู้คนเลือกปฏิบัติงาน CRT ที่แตกต่างกันเป็นเวลาหลายๆ วัน ความแตกต่างของอายุจะกลายเป็นตัวคงที่ (Constant) ดังนั้น หากเริ่มต้นปฏิบัติงาน ผู้สูงวัยสนองตอบช้ากว่าผู้เยาว์วัยอย่างไม่เป็นสัดส่วน ก็ต้องมีทางเลือกมากขึ้นแต่ถ้าเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ผู้สูงวัยก็ยังสนองตอบช้ากว่าผู้เยาว์วัยในแต่ละเงื่อนไข ก็หมายความว่า สัดส่วนของความแตกต่างในอายุอาจเกิดจาก “การเข้าที่” (Settling in”) ของงาน

แต่เมื่อได้รับการฝึกปรือ (Re-hearse) อย่างเพียงพอจนเป็นอัตโนมัติ (กล่าวในทางจิตวิทยาก็คือ ทักษะที่ได้รับการฝึกปรีอ จนถึงจุดที่ไม่ต้องควบคุมด้วยสติ [Conscious]) ความแตกต่างของอายุจะมีความสำคัญน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับงานที่ต้องติดตาม (Monitor) ด้วยสติ ผลสรุปก็คือ นักวิจัยพบว่ากระบวนการอัตโนมัติ (Automatic process) ไม่มีผลกระทบจากชราภาพ

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. As We Age, Loss of Brain Connections Slows Our Reaction Time - http://psychcentral.com/news/2010/09/13/as-we-age-loss-of-brain-connections-slows-our-reaction-time/18031.html [2016, July 5].