จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 59 : สุขภาพกับเชาว์ปัญญา (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยที่ทำงานบนข้อมูลข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) พบว่า ถ้าผู้เข้ารับการวิจัยแสดงผลการทำงานในเชาว์ปัญญา (Intellectual performance) ที่ตกลงอย่างมาก ก็จะมีความน่าจะเป็น (Probability) สูงที่จะถึงแก่กรรมภายในเวลาอันสั้น การวิจัยหลายชิ้นแสดงประจักษ์หลักฐานที่คล้ายคลึงกันนี้

ตัวอย่างเช่น ในการทดสอบกลุ่มคนอาสาสมัคร (Volunteer) ที่มีอายุอยู่ในวัยกลางคน (Middle-aged) และผู้สูงวัย แล้วมีการทดสอบซ้ำใน 10 ปี และ 20 ปีต่อมา พบว่า อาสาสมัครที่ตายก่อนมีการทดสอบซ้ำครั้งต่อไป ทำคะแนนแบบสอบถามได้ต่ำกว่าผลทดสอบครั้งแรก (Initial session) อย่างมีนัยสำคัญ

การทดสอบข้ามห้วงเวลา หลายครั้งรายงานผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันในเรื่องปรากฏการณ์ใกล้ตาย (Terminal-drop phenomenon) แม้ขอบเขต (Magnitude) ของผลกระทบ จะแตกต่างกันไปตามการศึกษาแต่ละครั้ง และขึ้นอยู่กับวิธี (Method) ที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Statistical analysis) สรุปแล้ว ปรากฏการณ์นี้มีจริง แต่อาจถกเถียงกันได้(Debated) ในรายละเอียด

นักวิจัยนำเสนอแนวความคิดของ “การสูญเสียวิกฤต” (Critical loss) ซึ่งเชื่อว่า ในขณะที่มาตรวัดเชาว์ปัญญา (Intellectual measure) จะเสื่อมถอยโดยปราศจาการพยาการณ์อะไรเป็นพิเศษ การเปลี่ยนแปลงในดัชนีชี้วัดเฉพาะมีแนวโน้มที่จะบ่งชี้ (Indicate) ว่า ความตายใกล้จะมาถึงแล้ว (Imminent)

การศึกษาของนักวิจัยหลากหลายแสดงดัชนีชี้วัดของ “การสูญเสียวิกฤต” ดังนี้

  • ความสามารถที่เสื่อมถอยในการค้นหา (Detect) คำพูดที่คล้ายกัน (Similar verbal) มากกว่า 10%
  • ความเสื่อมถอยของศัพทานุกรม (Vocabulary) และทักษะการพูดจา
  • ความสามารถที่เสื่อมถอยในการเรียนรู้สิ่งของที่จับคู่กัน (Paired associate learning) อาทิ สิ่งของที่เคยเห็นคู่กัน และทักษะพฤติกรรมเคลื่อนไหว (Psychomotor skill)
  • คะแนนรวม (Total score) ที่ลดลงใน “มาตรวัดเชาว์ปัญญาผู้ใหญ่เวคสเล่อร์” (Wechsler Adult Intelligence Scale : WAIS)
  • ความเสื่อมถอยในทักษะการรับรู้ (Cognitive) ส่วนใหญ่
  • ความเสื่อมถอยในเชาว์ปัญญาเหลว มากกว่า 10% (ด้วยความน่าจะเป็นของภาวะใกล้ตาย หากการเสื่อมถอยมากกว่า 20%)
  • ความเสื่อมถอยในงานที่ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ (Digital-symbol task)
  • ความเสื่อมถอยในระดับความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) และระดับการซึมเศร้า (Depression)
  • ความสามารถที่เสื่อมถอยในด้านการพูดและเทศะ (ตำแหน่งแห่งที่) [Spatial] โดยเฉพาะด้านเทศะ ที่เริ่มลดลงตั้งแต่ 15 ปีก่อนสิ้นใจ

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Impact of health on intellectual -https://en.wikipedia.org/wiki/Impact_of_health_on_intelligence [2016, May 31].