จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 58 : สุขภาพกับเชาว์ปัญญา (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยสามารถสาธิต (Demonstrate) ให้เห็นได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกาย 10 สัปดาห์ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในงานที่ต้องใช้สมาธิ (Attention task) และในบางกรณี ผลลัพธ์ที่ได้ในผู้สูงอายุ เป็นสัดส่วนที่มากกว่า (Proportionate) ผู้เยาว์วัยที่เข้าร่วมการวิจัย

นักวิจัยยังพบ การรับรู้ (Cognitive) ที่ดีกว่าในผู้ป่วยสูงอายุที่พักรักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาล (Institutionalized) ที่มีตารางกำหนด (Regime) การออกกำลังกาย และผู้คนที่จรรโลง (Maintain) ระดับที่เหมาะสมของร่างกายที่สมบูรณ์ มักปรากฏว่า มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากในดัชนีชี้วัด (Index) ผลการทำงานของเชาว์ปัญญา (Intelligence performance)

มีเหตุผลมากมายว่า ทำไมการออกกำลังกาย จึงมีผลกระทบในเชิงบวก (Positive effect) แก่เชาว์ปัญญา? ตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายให้คุณประโยชน์ (Beneficial) แก่ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system) และสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดมีสหสัมพันธ์ (Correlated) กับทักษะการรับรู้ในผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายและการกินอาหาร (Diet) ในระดับที่เหมาะสม (Sensible level) ช่วยขจัด (Stave off) เบาหวาน (Diabetes) ในผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสัมพันธ์ (Associated) กับทักษะเชาว์ปัญญาที่ลดลง

ร่างกายที่แข็งแรงมีแนวโน้มที่จะทำงาน (Function) ได้อย่างมีประสิทธิผล (Effective) กว่า เพราะการเพิ่มขึ้น (Enhance) ของการทำงานของโครงข่ายประสาท (Neural function) ซึ่งส่งผลให้เพิ่มขึ้นในเชาว์ปัญญา ผู้สูงอายุที่มีร่างกายแข็งแรง มีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อมั่น (Confidence) ที่สูงกว่าในสิ่งที่ทำอยู่ ดังนั้นจึงมีแรงจูงใจ (Motivation) ที่สูงกว่าในการทำงานที่ใช้ความคิด (Mental task)

นอกเหนือจากความสมบูรณ์ของร่างกายแล้ว ดัชนี้ชี้วัดทางสุขภาพมีสหสัมพันธ์กับหลากหลายมิติของการทำงานของเชาว์ปัญญา อาทิ ประสิทธิภาพของการไหลเวียนของโลหิต (Blood rheology) ดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) ระดับของวิตามิน B ทางเดินปัสสาวะ (Urinary peptide) และส่วนผสมของรูปแบบยีน (Genotype) สุขภาพแม้จะเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ก็มิใช่ตัวแปรเดียว สถานะเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic status : SES) และระดับการศึกษา ก็สร้างผลกระทบที่สำคัญไม่น้อยต่อการรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปในวัยชรา

อย่างไรก็ตาม อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อสุขภาพเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว (Catastrophically) ในช่วงท้ายของชีวิต ผู้สูงอายุบางคน ทำคะแนนแบบสอบถามที่ตกลงอย่างฮวบฮาบในไม่กี่เดือนก่อนสิ้นชีวิต ปรากฏการณ์ร่อแร่ (Moribund) นี้มีชื่อว่า “แบบจำลองใกล้ตาย” (Terminal drop model)

ลักษณะดังกล่าว จำลองรูปแบบของระดับผลงานที่ผู้คนจรรโลงไว้ในระดับสม่ำเสมอจนกระทั่ง 2 – 3 เดือนสุดท้ายก่อนตาย เมื่อความสามารถ “ดิ่งลงเหว” อย่างทันทีทันใด (Suddenly plummet) ราวกับว่าจิตใจของผู้คนนั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการ “ปิดฉาก” (Wind down) ของชีวิตก่อนสิ้นลมหายใจ

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Impact of health on intellectual -https://en.wikipedia.org/wiki/Impact_of_health_on_intelligence [2016, May 24].