จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 47 : สมองที่เสื่อมลง (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

อิทธิพลในการทำงานของสมองในกลีบหน้า (Front lobe) ทำให้การเปลี่ยนแปลงทั้งในปริมาตร (Volume) และการทำงาน (Functioning) ของสมอง ได้รับการเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลง (Alteration) ของเชาว์ปัญญา โดยที่เหตุผลหนึ่งที่เป็นได้คือ การปราศจากการฝึกปรึอทักษะทางจิต

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ การลดลงของการไหลของเลือดในสมอง (Cerebral blood flow) ซึ่งนำไปสู่การที่เซลล์ประสาท (Neuron) ขาดอ๊อกซิเจน และตายไปในที่สุด แต่อาจเป็นไปได้ว่า การไหลของเลือดที่ลดลง นำไปสู่กับทำงานของเซลล์ประสาทที่ไม่ได้ประสิทธิผล (Compromise) เนื่องจากการแจกจ่าย (Supply) เลือดที่ลดลง โดยเฉพะ ณ เวลาที่มีความจำเป็นสำหรับกิจกรรมเข้มข้น (Intense)

ผู้สูงอายุจำนวนมากได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างย่นย่อ (Miniature stroke) ณ ส่วนที่ประณีต (Minute portion) ของสมองที่เสื่อมลง (Atrophy) เนื่องจากการสิ้นสุด (Demise) ของการแจกจ่ายเลือด โดยที่ผู้สูงอายุมิได้รับรู้การเกิดเรื่องนี้ขึ้น

เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยทั่วไปจำนวนเนื้อเยื่อตายเพราะหลอดเลือดอุดตัน (Infarct) มีเพียงเล็กน้อย จึงอาจถือว่าเป็นอาการ (Symptomatic) เสื่อมสังขารณ์ไปตามปรกติของวัยชรา แต่ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับการเสื่อมลงของสมอง ที่เกิดจากการเสื่อมลงของหลอดเลือด (Vascular dementia)

การจ่ายเลือดของสมอง (เมื่อทำงาน [Operate] อย่างได้ประสิทธิภาพ) จะกลั่นกรองเอาสารพิษ (Toxin) ที่อยู่ในเลือดออก ก่อนเลือดจะไหลถึงสมอง โดยกลไก (Mechanism) ที่เรียกว่า “ทำนบระหว่างเลือดกับสมอง” (Blood-brain barrier) ดังนั้น ถ้าชราภาพเป็นสาเหตุการเสื่อมลงนี้ สมองก็จะมีความเสี่ยง (Exposed to) ที่จะได้รับสารพิษอันตราย

ส่วนการเสื่อมลงของประสิทธิผลจาก “ทำนบระหว่างเลือดกับสมอง” ดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อม (Dementia) การเสื่อมลงของการรับรู้ (Cognitive) และความสามารถที่ลดลง (Diminish) ของการฟื้นฟู (Recovery) จากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ (Inter alia)

โดยทั่วไปแล้ว ชราภาพมีความสัมพันธ์กับการเสื่อมลงในการย่อยอาหาร (Metabolism) และหลอดเลือดหัวใจ (Cardo-vascular) หมายความว่า แม้ว่าการตายของเซลล์ประสาท (Neutron) อาจมิได้เป็นสาเหตุของปัญหา แต่สมองก็ไม่ได้รับอ๊อกซิเจนและน้ำตาลในเลือด (Blood glucose) เพียงพอ จึงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชราภาพ เป็นสาเหตุของการเสื่อมลงทางกายภาพของสมอง ระบบประสาทสัมผัสที่บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อม และร่างกายที่รองรับสนับสนุนอยู่ แต่คงจะเป็นเรื่องพิศวงมากทีเดียว (Extraordinary) หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน(Functioning) ของจิต (Psychology) ที่ได้รับผลกระทบไม่โดยตรงก็โดยอ้อม [จากชราภาพ]

ข้อโต้แย้งที่ไม่ใครคิดเห็นแตกต่างก็คือ นี่เป็นจุดสิ้นสุดของความแน่นอน หลังจากนี้ อาจมีคำถามที่ไม่มีคำตอบที่แน่นอน

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging brain https://en.wikipedia.org/wiki/Aging_brain [2016, March 8].