จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 45 : จากประสาทสัมผัสสู่สมอง

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ต่อไปนี้เป็นมาตรการที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างปลอดภัย

  • ปรับเครื่องทำน้ำร้อนมิให้มีอุณหภูมิสูงว่า 51°C เพื่อหลีกเลี่ยงการมีแผลพุพองจากไฟลวก (Burn)
  • ตรวจสอบเครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer) เพื่อตัดสินใจว่า จะแต่งตัวอย่างไร แทนที่จะรอคอยจนรู้สึกว่า ร้อนเกินไป (Overheat) หรือหนาวเกินไป (Chill) แล้วค่อยเปลี่ยนเสื้อผ้าอาภรณ์
  • ตรวจสอบ (Inspect) ผิวหนังโดยเฉพาะที่เท้าว่ามีบาดแผลหรือไม่? ถ้ามี ต้องรีบดูแลรักษา อย่าเข้าใจ (Assume) ว่าบาดแผลไม่สำคัญ เพียงเพราะบริเวณนั้นไม่รู้สึกเจ็บปวด

การสำรวจ (Survey) ประสาทความรู้สึกของผู้สูงอายุ ส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจน (Apparent) ว่า ใช้เวลานานกว่าข้อมูลจะเดินทางมาถึงสมอง จากสภาพแวดล้อมที่ถูกจำกัดเป็นช่วง (Range) มีรายละเอียดน้อย และการทำงานอันเชื่องช้าของระบบประสาท (Nervous system)

สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อสติปัญญา (Intellect) ของผู้สูงอายุ หรือต่อบุคลิกภาพ (Personality) ของผู้สูงอายุ ถ้าภาพลักษณ์ส่วนบุคคล (Self-image) ของเขาได้รับผลกระทบ เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยเชื่อมโยงกับระดับซึมเศร้า (Depression) ในผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม สมองที่เสื่อมลง มิได้ใช้ประโยชน์ของข้อมูลประสาทสัมผัสที่เข้ามา รูปแบบที่สังเกตได้ (Notable pattern) ของการเสื่อมลงในกระบวนการชราภาพก็คือ จิตของผู้สูงอายุเริ่มไม่สามารถบูรณาการกลุ่มข้อมูล (Strands of information) เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เป็นองค์รวมที่ยึดแน่น (Cohesive whole) อาทิ ความซับซ้อน (Complex) กับความง่าย (Simple) ของรสชาติ และของสัญญาณการได้ยิน (Auditory signal)

ความบกพร่องที่สำคัญ (Principal) ของชราภาพ ดูเหมือนจะเกิดขึ้น เมื่อกระบวนการง่ายๆ หลายกระบวนต้องดำเนินการ (Operate) ไปเป็นคู่ขนาน (Tandem)

เป็นที่รับรู้กันนานแล้วว่า สมองลดปริมาตร (Volume) ลงในวัยชรา แม้ในบุคคลที่แข็งแรงและทำงานได้ดี (Well-functioning) มาตรวัด (Measure) ในอดีต (ซึ่งอาศัยการวัดอย่างหยาบของน้ำหนักสมอง) พบการลดลง 10 ถึง 15% ในผู้สูงอายุทั่วไป ที่ไม่เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia-free)

การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยใช้การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) พบว่าสมองลดลง (Diminish) ในปริมาตร ขณะที่ระบบโพรงสมอง (Ventricular) [กระเป๋าของเหลว (Fluid) ภายในสมอง] ขยายตัวขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงนี้มิได้เป็นรูปแบบ (Uniform) เดียวกัน

การสูญเสีย เกิดขึ้นในสมองส่วนหน้า (Temporal) ถัวเฉลี่ย 0.5 ถึง 1% ต่อปี เนื่องจากการหดตัว (Shrinkage) ของเซลล์ประสาท (Neuron) และการลดลงของจำนวนจุดเชื่อม (Inter-connections) ระหว่างเซลล์ประสาท

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging changes in the senses https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/004013.htm [2016, February 23].