จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 43 : ปัญหาการสัมผัสและความเจ็บปวด (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น หนทางที่ประสาทสัมผัสให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ประสาทสัมผัสจะมีความ “แหลมคม” (Sharp) ลดลง ทำให้ยากขึ้นสำหรับคนเราในการสังเกตเห็นรายละเอียด ผู้สูงอายุมีจุดเริ่มต้นสัมผัส (Touch threshold) หรือจุดกระตุ้น (Stimulate) ผิวหนังที่อ่อนไหว (Sensitive) ต่ออุณหภูมิของวัตถุซึ่งค่อยๆ ลดลงตามอายุที่สูงขึ้น

ตัววัดการสัมผัส (Touch sensor) นั้น ฝังอยู่ (House) ในผิวหนัง และมีแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงการเสื่อมลงของความอ่อนไหวกับอาณาบริเวณผิวหนังที่บอบบาง (Thin) และเหี่ยวย่น (Wrinkle) ของผู้สูงอายุ และแม้จะอธิบายได้เพียงบางส่วน แต่ก็มีประจักษ์หลักฐานว่า อย่างน้อยส่วนที่เสื่อมลง เกิดจากการลดลงของตัววัดการสัมผัสในผิวหนัง

อันที่จริง ความรู้สึกของการสัมผัส (Sense of touch) มิได้เกิดขึ้นตามลำพัง แต่มีแนวโน้มที่จะรวมถึงการรับรู้ของความเจ็บปวด (Pain) อุณหภูมิ (Temperature) แรงกดดัน (Pressure) การสั่นสะเทือน (Vibration) และตำแหน่งแห่งที่ (Position) ของร่างกาย

นักวิจัยบางคนได้รายงานการเพิ่มขึ้นของจุดเริ่มต้นเจ็บปวด (Pain threshold) ในผู้สูงอายุ กล่าวคือ เขาสามารถทนต่อสิ่งกระตุ้นสุดขีด (Extreme stimulus) โดยปราศจากความรู้สึกว่าเจ็บปวด (Perceiving painful) และนี่อาจอธิบายการเสื่อมลงของจำนวนช่องรับประสาทสัมผัส (Sensory receptor) ในวัยชรา

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างในเรื่องอายุ [ต่อความเจ็บปวด] ไม่ว่าจะแสดงออกที่ใบหน้าหรือไม่ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่เจ็บปวด บางส่วนของปรากฏการณ์เช่นนี้ อาจขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งที่บนร่างกายที่ได้รับ (Inflict) ความทุกข์ทรมาน [จากความเจ็บปวด]

แต่ควรตระหนักว่า ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม ความเข้มข้น (Intensity) และช่วงเวลา (Duration) ของสิ่งกระตุ้นความเจ็บปวด ถูกจำกัดอย่างเข้มงวดในการศึกษาวิจัย และนี่อาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการสรุปความคิดเห็นที่เป็นจริงได้ (Realistic) และมีความหมาย (Meaningful)

แม้จะคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ เงื่อนไข (Condition) ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เพิ่มขึ้นมากจนพบเห็นไปทั่ว (Prevalent) ในวัยชรา อาจเป็นไปได้ว่า ความหมายเชิงอารมณ์ (Emotional meaning) ของความเจ็บปวด อาจแตกต่างระหว่างวัย

ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่จะยอมทนทุกข์ทรมาน (Distressed) ได้มากกว่า ในเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ช้าลง อันสืบเนื่องมาจากความเจ็บปวดจากโรคภัยไข้เจ็บ อาจเป็นเพราะผู้คนมีความคาดหวังที่ต่ำลง ในสิ่งที่เขาควรจะทำได้ ณ อายุที่สูงขึ้น

ยังมีการศึกษาที่พบว่า ผู้สูงอายุ มักสงบปากสงบคำ (Reticent) เกี่ยวกับความเจ็บปวด และไม่เต็มใจที่จะระบุ (Label) สิ่งกระตุ้นอันน่ารังเกียจ (Aversive stimulus) ว่า เป็นความเจ็บปวด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาจไม่มีความรู้มากในเรื่องการรับมือกับความเจ็บปวด (Pain management)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging changes in the senses https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/004013.htm [2016, February 9].