จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 4 : ชราภาพ

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychologist) ซึ่งศึกษาทุกมิติ (Universal aspect) ของพัฒนาการช่วงอายุคน และความแปรปรวน (Variation) ของวัฒนธรรมและแต่ละบุคคล สามารถช่วยตอบคำถามสำคัญ ในแต่ละขั้นตอนของชีวิตตามธรรมชาติ (Natural life) ได้

นักจิตวิทยาพัฒนาการ มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ (Physiological) และการรับรู้ (Cognitive) ตลอดชั่วอายุคน (Life span) และกระบวนการทางสังคม (Socialization) ในการเรียนรู้ทัศนคติและพฤติกรรมที่คาดหวังจากสังคม ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยชรา

ลองถามผู้คนสัก 5 ราย ซึ่งมีอายุห่างกันประมาณ 10 ปี โดยที่มี 1 ราย อายุไม่ต่ำกว่า 70 ปี ว่าเขาอายุจริงเท่าไร? และอายุตามความรู้สึกเท่าไร? แล้วตอบคำถามว่า อะไรคือช่องว่าง (ถ้ามี) ระหว่างอายุตามเวลา (Chronological age) กับอายุตามจิตวิทยา (Psychological age)? และช่องว่างดังกล่าวจะขยายตัวกว้างขึ้นเมื่อผู้คนบรรลุชราภาพ (Old age) หรือไม่?

ในภาษาอังกฤษ มีคำที่ใช้เรียก ผู้สูงอายุ (Old people) อยู่มากมาย อันได้แก่ ผู้อาวุโส (Senior) ราษฎรอาวุโส (Senior citizen) ผู้ใหญ่วัยชรา (Older adult) และคนแก่ (Elderly)

ในอดีต ผู้สูงอายุเริ่มต้นที่อายุ 60 ปี แต่ในปัจจุบัน ส่วน (Segment) ของประชากรที่มีอัตราเติบโตสูงสุด ในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยผู้มีอายุเกินกว่า 85 ปี ถึง 4 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2543 สำนักงานสำรวจประชากร (Census Bureau) พยากรณ์ว่า ผู้สูงอายุอเมริกัน จะมีถึง 31 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 โดยที่เกือบ 1 ล้านคนจะมีอายุเกิน 100 ปี

ผู้สูงอายุเหล่านี้จะทำอย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยด้านสูงอายุ (Gerontologist) ศึกษาชราภาพ พอมีคำตอบบ้าง ในหลากหลายแง่มุม (Aspect) ของสติปัญญา (Intelligence) ความทรงจำ (Memory) และรูปแบบอื่นของการทำงานของจิต (Mental functioning) จะเสื่อมลง (Decline) ตามวัยอย่างมีนัยสำคัญ

ผลการวิจัยเปิดเผยว่า ผู้สูงอายุทำคะแนนสอบได้ต่ำลงในเรื่องการใช้เหตุผล (Reasoning) ความสามารถตามกาละเทศะ (Spatial ability) และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex) เมื่อเทียบกับ “ผู้ใหญ่วัยต้น” (Young adult) ความสามารถในการผลิต (Produce) และสะกด (Spell) คำก็ลดลงด้วย

สิ่งเหลานี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มักเป็นสาเหตุของผิดหวัง (Frustration) และความน่ารำคาญ (Annoyance) เพราะผู้สูงอายุใช้เวลานานขึ้นในการจำชื่อ รำลึกถึงวันที่ และข้อมูลอื่นๆ โดยที่ความเร็วในการประมวลการรับรู้ (Cognitive processing) จะเชื่องช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก (Considerably) โดยที่บางคนมีความคิดอ่านไม่แหลมคม (Sharp เหมือนคนอื่น กล่าวคือ ความสามารถในการรับรู้มิได้เสื่อมลงตามอายุในทุกกรณี ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างดังกล่าว ได้แก่ “สติปัญญาไหล” (Fluid intelligence) กับ “สติปัญญาใส” (Crystallized intelligence)

แหล่งข้อมูล

  1. Wade, Carole & Carol Tavris. (2008). Invitation to Psychology (4th Ed). Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.
  2. Old age - http://en.wikipedia.org/wiki/Old_age [2015, May 12].