จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 36 : ปัญหาการมองเห็น (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

คุณลักษณะ (Feature) ที่น่าสนใจหนึ่งของความคมชัด (Acuity) คือปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างขนาดของภาพ และการเทียบเคียงความต่าง (Contrast) ที่เรียกว่า CSF (= Contrast sensitivity function) หลักการของ CSF ก็คือเราอาจมองไม่เห็นภาพเล็กๆ หากนำเสนอในรูปแบบเทียบเคียงความต่างน้อย (อาทิ ภาพดำบนฉากหลังสีเทาเข้ม) แต่ภาพเดียวกันอาจเห็นได้ หากนำเสนอรูปแบบเทียบเคียงความต่างมาก (อาทิ ภาพดำบนฉากขาว)

จากสภาวะนี้ ภาพเล็กที่สุดเท่าที่จะค้นพบได้ (Detectable image) ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแสง (Lighting) ที่ต่างกัน และการเทียบเคียงความต่าง อาจคาดคะเนได้ ปัญหาที่ผู้สูงอายุเผชิญในการค้นหารายการชิ้นส่วน (Item) เล็กๆ ที่มองเห็นได้ สามารถแก้ไขได้ (Offset) โดยเพิ่มการเทียบเคียงความต่างในเรื่องความเข้มข้นของแสง (Luminance) ในภาพ

การกระทำดังกล่าวสามารถฟื้นฟูระดับการมองเห็นให้ใกล้เคียงกับเยาว์วัย แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ก็อาจไม่สดใส (Optimally lit) เสมอไป และ CSF อาจเชื่อมโยงกับนานาปัญหาอื่นๆ ที่ผู้สูงอายุเผชิญอยู่ รวมทั้งความเสี่ยงสูงของการหกล้ม (Fall) โดยถัวเฉลี่ยแล้ว คนที่มีอายุในช่วง 60 ปี ต้องการความสว่าง (Brightness) เป็น 3 เท่าของคนในช่วง 20 ปี เพื่อจะอ่านสิ่งตีพิมพ์ประจำวัน

นอกจากนี้ CSF ยังเป็นกุญแจหลักในการวัด (Gauge) สุขภาพสายตา (Visual health) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยได้ติดตามกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเวลา 4 ปี ในเรื่องมาตรวัดสายตา อาทิ การฟื้นฟูแสงเจิดจ้า (Glare recovery) และความอ่อนไหวของแสงริบหรี่ (Flicker sensitivity)

แล้วพบว่า รูปแบบการเทียบเคียงความต่าง (Contrast pattern) เป็นมาตรวัดเดียวที่สามารถพยากรณ์การสูญเสียความคมชัดของสายตา (Acuity) ใน 4 ปีต่อมา และทุกๆ ครั้งที่เพิ่มขนาดรูปแบบเป็น 2 เท่า ที่จำเป็นต่อการมองเห็น จะมีโอกาสมากกว่า 2 เท่าของการสูญเสียสายตา ใน 4 ปีให้หลัง

นอกจากการพิจารณาเรื่อง CSF แล้ว ทุกมิติ (Aspect) ของการมองเห็น จะเลวร้ายลง ในช่วงท้ายของชีวิต ประเด็นนี้นำไปสู่คำถามเกี่ยวกับรูปแบบ (Format) ของการทดสอบสายตา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้สูงอายุปลอดภัยในการทำงานบางอย่างที่ต้องใช้สายตา อายุการขับรถ การวัดการเปลี่ยนแปลงในความคมชัดเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอ

ตัวอย่างเช่น จุดเริ่มต้นของการเห็น (Visual threshold) [จุดริบหรี่ (Dim) ที่สุดเท่าที่จะมองเห็นได้] จะค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้นตามวัย ในทำนองเดียวกัน อัตราที่ผู้คนสามารถปรับสายตาให้เข้ากับสภาวะที่มีแสงน้อย (Low level) จะค่อยๆ ลดลงตามอายุ กล่าวคือ ผู้สูงวัยจะไม่สามารถเห็นแสงริบหรี่ได้เท่ากับที่ผู้เยาว์วัย

ในทางกลับกัน (Converse) ความสามารถในการฟื้นฟูจากแสงเจิดจ้า ก็จะลดลง บางครั้งหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ข้อเท็จจริงนี้ มีผลกระทบอย่างชัดเจน (Clear implication) อาทิ สำหรับการขับรถในเวลากลางคืน ภาพที่มองเห็นจะเริ่มพร่ามัว (Mildly distort) ในช่วงท้ายของชีวิต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในรูปร่างของเล็นส์ตา (Lens shape)

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Aging sensory system - http://www.webmd.com/eye-health/vision-problems-aging-adults [2015, December 15].