จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 33 : สาเหตุชราภาพทางชีววิทยา (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

สิ่งที่อาจไม่ได้รับการ “วางแผน” อย่างจงใจ (Deliberate) มาก่อน ได้แก่ ผิวหนังที่เหี่ยวย่น (Wrinkled skin) กระดูกที่เปราะบาง (Brittle) ช่วงความจำ (Memory span) ที่สั้นลง และความเร็วในการสนองตอบ (Response speed) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะไม่มีแรงกดดันวิวัฒนาการ (Evolutionary pressure) ที่จะขัดขวาง ตามทฤษฎีสะสมการกลายพันธุ์ (Mutation accumulation theory)

หรือเกิดขึ้นเพราะการกลับด้าน (Reverse side) ของกระบวนการที่เป็นประโยชน์ในช่วงต้นของชีวิต [กล่าวคือเป็นโทษต่อช่วงท้ายของชีวิต] ตามทฤษฎีผลกระทบปฏิปักษ์ (Antagonistic pleiotropic theory) หรือเกิดขึ้นเพราะการงทุนในช่วงต้นของชีวิตที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การสืบพันธุ์ (Reproduction) ตามทฤษฎีชราภาพของการกำจัดร่างกายทิ้ง

ผู้คนส่วนใหญ่แวดล้อม (Surround) ด้วยธรรมชาติ จะตายก่อนลักษณะพิเศษ (Characteristics) เหล่านี้ จะเปิดเผย (Manifest) ออกมาให้เห็น วิธีนี้จึงเป็นทั้งคำสาป (Curse) และสิทธิพิเศษ (Privilege) ของชีวิตสมัยใหม่ ที่จะได้เห็นการ “หลอกเอาชนะ” (Cheat) วิวัฒนการ [ของสิ่งมีชีวิต]

เลียวนาร์ด เฮย์ฟลิค (Leonard Hayflick) นักกายวิภาคชาวอเมริกัน ได้เปรียบเทียบเส้นทางชีวิต (Life course) ในบริบทของวิวัฒนาการ (Evolutionary terms) เหมือนกับดาวเทียมที่ถูกส่งออกไปในอวกาศ ด้วยภารกิจ (Mission) ในการสำรวจดาวเคราะห์ (Planet) เมื่อดาวเทียมได้ส่งภาพของเป้าหมายกลับมายังโลก จนเสร็จสิ้นภารกิจนั้น

จากนั้น ดาวเทียมก็จะถูกปล่อยให้ล่องลอยอยู่ในอวกาศ ดำเนินการส่งสัญญาณกลับโลกอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุ หรือความเสื่อมลง (Decay) ตามธรรมชาติ ที่ทำให้สิ้นสุดกิจกรรม ในทำนองเดียวกัน เมื่อบุคคลใดบรรลุเป้าหมายของการผลิตลูกหลาน (Offspring) ที่มีชีวิตอยู่รอด (Viable) จะยังคงดำเนินชีวิตต่อไปจนกว่าอุบัติเหตุหรือการเจ็บไข้ได้ป่วย จะฆ่าเขาตาย

อย่างไรก็ตาม ชีวิตของดาวเทียม หลังจากส่งภาพของเป้าหมายกลับโลกแล้ว หรือชีวิตบุคคลหลังจากขยายพันธุ์ (Breeding) แล้ว ต่างก็เป็นเรื่องบังเอิญ (Co-incident) จะต้องมี “การรังสรรค์เกินความจำเป็น” (Over-engineering) เข้าไปในระบบ (Built-in system) จึงจะมีอะไหล่ (Spare part) อย่างเพียงพอ ในการต่ออายุสิ่งมีชีวิต

เราตีความคำว่า “ต่ออายุ” (Extra life) โดย “การรังสรรค์เกินความจำเป็น” นี้ เป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาชีวิตตามธรรมชาติ (Natural lifespan) แต่อันที่จริงแล้ว ในบริบทของวิวัฒนาการ มันเป็นของกำนัลอุบัติเหตุ (Accidental gift) ไม่ใช่สิทธิ [อันชอบธรรม] อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ว่า ชราภาพ “เอาชนะ” (Defeat) วิวัฒนาการนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

สิ่งที่แสดงออก ที่แท้คือสิ่งที่แรงกดดันวิวัฒนาการมองชราภาพ กล่าวคือ มันคือช่วงเวลา [ในบริบทของวิวัฒนาการที่เป็นประโยชน์ต่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ (Species survival)] ขาลงต่ำสุด (All-time low) ที่ทำหน้าที่รับฝาก (Repository) สิ่งที่เสื่อมลง (Decay) ทุกประเภท ที่จะจู่โจม (Strike) ผู้ที่ยังไม่ยอมตาย หลังจากที่ทำหน้าที่สืบทอด จีน/ยีน (Gene) ไปยังชั่วอายุคนถัดไป

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Biological ageing is no longer an unsolved problem - http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17460161 [2015, December 1].