จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 26: ปัจจัยกระทบอายุคาด (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

อีกปัจจัยหลักหนึ่งที่มีอิทธิลต่ออายุคาด (Life expectancy) ก็คือเพศ (Gender) ชายหรือหญิง ในสังคมที่มีความสงบ (กล่าวคือ หายนะจากสงคราม (War casualty) มิได้ทำให้ตัวเลขบิดพริ้วไป) จำนวนผู้ชายและผู้หญิง จะมีเท่าๆ กัน โดยประมาณจนถึงอายุ 45 ปี

หลังจากนั้นอัตราการตายของผู้ชายจะเร็วขึ้น จนเมื่ออายุ 70 ปี จะมีผู้หญิงประมาณ 6 คน ต่อผู้ชายทุกๆ 5 คน

และเมื่อถึงอายุ 80 ปี อัตราส่วนนี้ จะเคลื่อนย้ายไปสู่ง 4 : 1 มีเหตุผลหลายประการสำหรับการตายก่อนของผู้ชาย แนวความคิดยอดนิยมก็คือ ผู้ชายใช้ชีวิตที่สมบุกสมบัน (Physically strenuous) กว่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

อย่างไรก็กตาม คำอธิบายนี้ฟังไม่ค่อยขึ้น (Marginal explanation) เพราะเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงในเรื่องระดับความอุตสาหะ (Industriousness) แล้ว พบว่า อัตราการตาย (Mortality) ระหว่างเพศ เกิดขึ้นในหลายเผ่าพันธุ์ (Species) ของสัตว์ นอกเหนือจากมนุษย์ แสดงว่า ความแตกต่างระหว่างเกิดจากโครโมโซม (Chromosome) มากกว่าสภาพแวดล้อม

งานวิจัยอื่น ได้ค้นพบปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยกายภาพและสภาพแวดล้อม กับความแตกต่างในพฤติกรรมสังคม (อาทิ ความกล้าเสี่ยง [Risk-taking] และความชอบมากว่า [Preference] ในอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะของผู้ชาย) ว่า อาจมีบทบาทสำคัญ

แต่นักวิจัยอื่น ก็โต้เถียงว่า ความแตกต่างระหว่างเพศ อาจเกิดจากการปฏิบัติต่อผู้สูงวัยชายกับผู้สูงวัยหญิงที่ไม่เท่ากัน โดยชี้ให้เห็นว่า อายุคาดของผู้หญิงจากกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic) ที่ด้อยกว่า จะเท่ากับ อายุคาดของผู้ชายจากกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคมที่สูงกว่า

ดังนั้น ความแตกต่างในอายุคาด จึงขึ้นอยู่กับหลากหลาย (Multitude) ปัจจัย มิได้ขึ้นอยู่กับประเทศที่ประชากรอาศัยอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับภาค (Region) ไหนของประเทศ สถานะทางเศรษฐกิจ-สังคม ระดับการสนับสนุนจากชุมชน ตลอดจน (ในระดับแต่ละบุคคล) วิถีชีวิต (Life style) จีน/ยีน (Gene) และเพศ อีกด้วย

การมีอายุที่ยาวนานขึ้นอาจเป็นสิ่งที่พึงปราถนา (Desirable) แต่อาจไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยความสุขที่บริสุทธิ์ (Unalloyed pleasure) นักคำนวณสถิติประกันภัย (Actuarial) ชาวแคนาดา พบว่า 75% ของเวลาที่ได้เพิ่มขึ้น (Extra time) ของผู้สูงอายุ หมดไปกับความทุกข์ทรมานจากการด้อยสมรรภาพทางร่างกาย (Physical disability)

ดังนั้น การมีอายุคาดสูงขึ้น จึงไม่ใช่ความสุข (Blissful) ที่แท้จริง นักวิจัยอื่นพบว่า 73% ของชาวสวีเดน ที่มีอายุช่วงปลายของ 70 ปี รายงานความเจ็บปวด (Pain) [จากโรคภัยไข้เจ็บ] ตั้งแต่เล็กน้อย (Mild) ไปถึงขั้นร้ายแรง (Severe)

แหล่งข้อมูล

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Life expectancy - http://en.wikipedia.org/wiki/Life_expectancy [2015, October 13].