จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 207 : การสมรสกับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-207

      

      นักวิจัยพบว่า โดยทั่วไป คู่สมรสสูงวัยมีความสุข หรือมีความพึงพอใจ (Content) มากกว่า คู่สมรสเยาว์วัย ซึ่งรายงานถึงการลดลงของปฏิสัมพันธ์ที่เป็นลบ (Negative interaction) เมื่ออายุมากขึ้น บางส่วนอาจเป็นเพราะงานและความผิดชอบในฐานะพ่อแม่ (Parenting responsibilities) ได้ลดลง

      เราอาจตั้งข้อสมมุติฐานว่า ผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัย 50 – 60 ปี อาจเต็มใจที่จะพิจารณาแต่งงานใหม่ (Re-marriage) เพราะผลประโยชน์ (Gain) ที่จะได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่ปราศจากความรับผิดชอบในฐานะพ่อแม่ แต่กลุ่มนี้มีความเต็มใจน้อยกว่าผู้ใหญ่เยาว์วัยในการแต่งงานใหม่ แม้จะพิจารณานานาปัจจัย อาทิ ศาสนา (Religiosity) และบุตรที่ยังพึงพาอาศัยอยู่ (Dependent)

      ในการศึกษาครั้งหนึ่ง นักวิจัยได้ประเมินคู่สมรสสูงวัย (60 – 70 ปี) และคู่สมรสที่เยาว์วัยกว่า (40 – 50 ปี) ในหลากหลายมาตรวัด (Variety of measures) แล้วพบว่า คู่สมรสสูงวัย แสดงจิตที่มั่นคง (Equanimity) มากกว่าในเรื่องจุดมุ่งหมายและแหล่งความบันเทิง (Pleasure) และมีแนวโน้มของมาตรฐานสุขภาพ (Health standards) ที่สูงกว่า และมีความสุขมากกว่า โดยไม่มีความแตกต่าง (Egalitarian) ระหว่างเพศ (Gender) และบทบาทตามประเพณีดั้งเดิม (Traditional role)

      ผลลัพธ์เหล่านี้สนับสนุนความคิดที่ว่า คู่สมรสสูงวัยยึดมั่น (Cling) ในการหลีกเลี่ยง “บ้านแตก สาแหรกขาด” (Wreckage) เนื่องจาก การหย่าร้าง ซึ่งเป็นสถานการณ์ (Prospect) ที่เลวร้าย (Awful) ทางอารมณ์และทางการเงินเกินกว่าที่จะมาพิจารณา (Contemplate)

      แต่ก็เป็นข้อมูลที่อาจไม่บอกอะไร (Uninformative) มากนัก เพราะมันมิได้แสดงว่า คู่สมรสูงวัย มีความสุขมาตลอดชีวิตสมรสตหรือไม่ หรือความสุขของทั้งคู่ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการทะเลาะเบาะแว้งที่ได้ลดลง (Diminish) มาจนถึงจุดที่สงบศึก (Truce) แล้ว

      ในสหรัฐอเมริกา อย่างน้อยคู่สมรสที่อยู่ด้วยกันในปัจจุบัน หรือเคยแต่งงานแล้วหย่าร่าง (Divorced) มีแนวโน้มที่จะอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงานเลย สามารถใช้พยากรณ์ (Predicative) อายุคาด (Life expectancy) ได้ อีกงานวิจัยหนึ่ง แสดงภาพที่สดใส (Cozy) น้อยกว่า โดยนักวิจัยศึกษาผู้สูงวัยในช่วงเวลา 7 ปี แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงในความพึงพอใจต่อชีวิต (Life satisfaction)

      เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ที่สถานะสมรส (Marital status) ไม่เปลี่ยนแปลงกับกลุ่มผู้ที่สถานะสมรสเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการหย่าร้างหรือการตายของคู่สมรส ผลปรากฏว่า ผู้ชายได้รับประโยชน์จาการสมรสมากกว่าผู้หญิง ในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสถานะสมรส ความพึงพอใจต่อชีวิตของผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะลดลง ในขณะที่ความพึงพอใจต่อชีวิตของผู้ชายยังมั่นคง (Stable) เหมือนเดิม

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Marriage in Old Age - https://publishing.cdlib.org/ucpressebooks/view?docId=kt9z09q84w&chunk.id=ch14&toc.id=ch09&brand=ucpress [2019, April 2].