จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 206 : ปรปักษ์กับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-206

      

      เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเพราะผลกระทบในระยะยาวของการเจ็บป่วยในวัยเด็ก และเป็นเพราะระดับรายได้และมาตรฐานการครองชีพที่ต่ำในวัยผู้ใหญ่ นักวิจัยยังพบว่า การทนทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บ (Trauma suffering) ในช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่ มีสหสัมพันธ์สูงกับสุขภาพที่แย่ในบั้นปลายของชีวิต

      นี่หมายความว่า อย่างน้อยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพ (Personality) ที่สนองตอบต่อการเจ็บป่วย มันอาจมิใช่เพียงการเจ็บป่วยในบั้นปลายของชีวิตที่เป็นสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์นี้ แต่มันอาจเป็นผลกระทบสะสม (Accumulated) ข้ามช่วงเวลาของชีวิต (Life-span)

      อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโยงระหว่างการเจ็บป่วยและบุคลิกภาพ อาจเป็นการกล่าวอ้างเกินความจริง (Exaggerated) ตัวอย่างเช่น ประเภท A ของบุคลิกภาพ มีสหสัมพันธ์สูงกับอัตราหัวใจวาย (Heart attack) [A กับ B เป็นข้อสมมุติฐาน (Hypothesis) ที่อธิบายบุคลิกภาพ 2 ประเภทที่อยู่ตรงข้ามกัน โดยที่ประเภท A เป็นบุคคลที่ชอบแข่งขัน (Competitive) เจ้าระเบียบ (Highly organized) ทะเยอทะยาน (Ambitious) ไม่อดทนรอคอย (Impatient) ให้ความสำคัญแก่การบริหารเวลา (Time management) และ/หรือ ก้าวร้าว (Aggressive) ส่วนประเภท B เป็นบุคคลที่ค่อนข้างผ่อนคลาย (Relaxed) ไม่ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล (Neurotic) ไม่ค่อยบ้าคลั่ง (Frantic) และสามารถอธิบายได้ (Explainable)]

      อย่างไรก็ตาม แต่การทบทวนของนักวิจัยอีกคนหนึ่ง ตั้ง¬ข้อสังเกตว่า ในขณะที่ข้อสรุปเกี่ยวกับหัวใจวาย อาจเป็นจริงสำหรับผู้ใหญ่เยาว์วัยที่มีบุคลิกภาพประเภท A หลังอายุ 65 ปี แต่มิได้เพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหลอดเลือดหัวใจ (Coronary) และการค้นพบนี้ ไม่สามารถใช้กับผู้คนส่วนมากที่มีบุคลิกภาพประเภท A ซึ่งตายก่อนถึงอายุปูนนี้

      พึงสังเกตว่า การอภิปรายในส่วนนี้มุ่งเน้น (Center) ไปที่วิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative) ของการวิจัยที่ตอกย้ำ (Emphasize) การลดข้อมูลที่ซับซ้อน (Complex) ของรูปแบบ (Pattern) บนตัวเลขพื้นฐาน (Underlying number) แม้ อาจดูเหมือนเป็นคำพูดซ้ำซาก (Trite cliché) แต่เราควรจดจำว่า สุขภาพและการทนทุกข์ทรมาน เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล

      นักวิจัยได้ตรวจสอบประสบการณ์ของการเจ็บไข้ได้ป่วยของผู้สูงวัย แล้วตั้งข้อสังเกตว่า การค้นพบหลากหลาย คงสรุปได้เป็นระดับแต่ละบุคคล ซึ่งขัดแย้ง (Defy) กับวิธีการของนักคตินิยมลดทอน (Reductionist) [กล่าวคือความเชื่อที่ว่า สิ่งที่ซับซ้อนสามารถอธิบายด้วยส่วนย่อยๆ ที่ไม่ซับซ้อน]

      ดังนั้น คำกล่าวอ้างที่ครอบคลุมไปทั่ว (Global statement) เกี่ยวกับหัวข้อนี้ มีโอกาสสูงที่จะมองข้าง (Overlook) รายละเอียดที่สำคัญๆ ไป เนื่องจากในจิตวิทยาสุขภาพ (Health psychology) นักจิตวิทยาศึกษาว่าสุขภาพจิต (Mental health) ของแต่ละบุคคลมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย (Physical health) อย่างไร?

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Age differences in hostility among middle-aged and older adults - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8461112 [2019, March 26].
  3. Type A and Type B personality theory -https://en.wikipedia.org/wiki/Type_A_and_Type_B_personality_theory [2019, March 26].