จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 188 : คุณภาพชีวิตข้ามวัฒนธรรม (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-188

      

      ในวัฒนธรรมยุโรป ส่วนใหญ่ (Majority) มีระบบทางสังคมที่รัฐเลี้ยงดูผู้สูงวัยที่คล้ายกันในมุมกว้าง แต่ในวัฒนธรรมตะวันออก แม้ประเพณีที่ครอบครัวเลี้ยงดูผู้สูงวัย จะเบาบางลง แต่ผู้สูงวัยยังคงได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกครอบครัวที่เยาว์วัยกว่า และเครือข่ายสังคม (Social network)

      นอกจากนี้ ในบรรดาชนหมู่น้อย (Ethnic minority) (อาทิ อเมริกันเชื้อสายอัฟริกา) ยังมีโบสถ์คริสต์ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนทางสังคมและรวมแรงบันดาลใจ (Unifying) ความคาดหวังเฉพาะทางวัฒนธรรมและแนวทางปฏิบัติอาจหล่อหลอม (Shape) ปฏิสัมพันธ์และความสำเร็จของชนหมู่น้อย อาทิ ผลลัพธ์ (Outcome) จากการดูแลญาติผู้ป่วยสูงวัย

      อย่างไรก็ตาม อาจมีความเสี่ยงสูง (Dangerous) ที่จะสรุปโดยทั่วไป (Over-generalized) ถึงข้อโต้แย้งและข้อสมมุติฐานว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นผลลัพธ์ที่โดดเด่น (Unique product) ของวัฒนธรรมเฉพาะ (Particular) ซึ่งมีพื้นฐาน (Fundamental) ที่แตกต่างจากแกนหลัก (Core)

      ในทางปฏิบัติ เกือบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพบปัจจัยร่วม (Confounding factor) ตัวอย่างเช่น ชนหมู่น้อยมีแนวโน้มที่จะอยู่ในสถานะต่ำ (Low standing) ทางเศรษฐกิจ-สังคม หรือถูกบังคับให้ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Inter-reliant) โดยความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้รุนแรงเกินกว่าที่จะล้อเล่น (Tease) [มองข้าม]

      นักวิจัยได้สาธิต (Demonstrate) ให้เห็นว่า ชีวิตคาด (Life expectancy) ของชนหมู่น้อย สามารถหล่อหลอมสรรพสิ่งอย่างมีนัยสำคัญ ในการเปรียบเทียบผู้สูงวัยชาวไต้หวันกับชาวจีนบนผืนแผ่นดินใหญ่ มักพบแบบฉบับ (Typical) ของชีวิตที่แตกต่างกันในเรื่องอายุ เมื่อควบคุมปัจจัยทางสถิติในเรื่องความแตกต่างในชีวิตคาด เพื่อขจัดความแตกต่างทางวัฒนธรรมออกไป

      การศึกษาข้ามกลุ่มที่แตกต่างกันทางวัฒนธรรมและเผ่าพันธ์ พบหัวเรื่อง (Theme) และความคาดหวังที่ต่างกัน อาทิ การรับรู้ความสำคัญของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Mutual assistance) และตอบแทนกัน (Reciprocal) ของชั่วอายุคนที่ต่างกัน แม้จะมีการตอกย้ำ (Emphasis) ในเรื่องปัจจัยส่วนบุคคลภายในระบบ ซึ่งแตกต่างกันไปตามกลุ่ม

      นอกจากนี้ ระดับของการศึกษา (Education level) ยังคงเป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) อย่างสม่ำเสมอของสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก อย่างไรก็ตาม ผู้สูงวัยในชนหมู่น้อยต้องเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า “ความเสี่ยงภัย 2 เท่า” (Double jeopardy) ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ถูกเลือกปฏิบัติในเชิงลบ (Prejudiced) เพียงเพราะชราภาพ แต่ยังเพราะมีอัตลักษณ์ของชนหมู่น้อยอีกด้วย และจะเพิ่มเป็น “ความเสี่ยงภัย 3 เท่า” (Triple jeopardy) ถ้าผู้สูงวัยมีปัญหาการสื่อสาร จนไม่อาจได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็น หรือสมควรได้รับจากนานาบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Comparing the importance of different aspects of quality of life to older adults across diverse cultureshttps://academic.oup.com/ageing/article/40/2/192/46451 [2018, November 20].