จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 170 : จิตวิเคราะห์กับอุปนิสัย (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-170

      

      กลุ่มเข้าร่วมวิจัยที่มั่นคง ดูเหมือนจะคล้ายกับบุคลิกภาพของการปกป้องตนเอง (Defensiveness) ส่วนกลุ่มที่ไม่มั่นคง ก็ดูเหมือนจะคล้ายกับบุคลิกภาพของการกล่าวโทษ (Blame) ผู้อื่น สำหรับความโชคร้าย (Misfortune) ของตนเอง และมีวิถีชีวิตที่ไร้ระเบียบ (Disorganized life-style)

      ประเภทเหล่านี้ คล้ายอย่างเด่นชัด (Remarkably similar) กับสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาอื่นๆ ในเรื่องผู้สูงวัย ดังนั้น เราจึงมีเหตุผลอันสมควรที่จะสรุปว่า สิ่งที่ค้นพบในบั้นปลายของชีวิต มีความน่าจะเป็น (Probability) เหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วัยเริ่มต้นของความเป็นผู้ใหญ่ (Adulthood)

      นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง ได้ศึกษาตัวอย่างของผู้คนที่มีอายุอยู่ในช่วง 70 ปี แล้วพบบุคลิกภาพ 4 ประเภทหลัก (Principal personality type) ซึ่งคล้ายกับอุปนิสัย (Trait) ที่ค้นพบ (Uncover) ในงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ประเภทที่พึงปรารถนามากที่สุด (Most desirable) คือ บุคลิกภาพบูรณาการ (Integrated personality)

      ผู้คนที่อยู่ในประเภท (Category) ดังกล่าว อาจเป็น (1) “นักจัดระเบียบใหม่” (Re-organizer) กล่าวคือ เมื่อกิจกรรมหนึ่งเป็นไปไม่ได้ทางกายภาพ (Physically impossible) ก็จะพบอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นไปได้ (2) “นักมุ่งเน้น” (Focused) กล่าวคือ กิจกรรมถูกจำกัดให้เล็กลงเท่าที่จะทำได้ (Feasible) แต่ผลตอบแทนสูง (Highly rewarding) หรือ (3) “นักปลดปล่อย” (Disengaged) กล่าวคือ ผู้จงใจละทิ้ง (Deliberate abnegation) ความรับผิดชอบทั้งปวง

      อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกประเภทหนึ่งที่มีบุคลิกภาพของการปกป้องด้วยเกราะกำบัง (Armored defensive) อันมีผู้คนซึ่งอยู่ในจำพวก “ยันอยู่” (Holding on) กล่าวคือ ผู้คนที่รู้สึกว่า สามารถขจัด (Stave off) ความเสื่อมถอย (Decay) ได้โดยดำรงกิจกรรมในระดับสูง มิฉะนั้น เขาก็จะรู้สึกตีบตัน (Constricted) และสิงสถิต (Dwelt) อยู่กับสิ่งที่เขาได้สูญเสียไป อันเป็นผลมาจากชราภาพ แต่ประเภทที่ปกป้องด้วยเกราะกำบัง เป็นผู้คนที่พึงพอใจน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับบุคลิกภาพบูรณาการ

      นอกจากนี้ ยังมีประเภทที่ 3 ซึ่งมีบุคลิกภาพของ “การพึงพา-เชิงรับ” (Passive-dependent) ซึ่งเหมือนกับ ประเภท “พึ่งพา-เก้าอี้โยก” (Dependent-rocking chair) กล่าวคือ ผู้ที่พึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือถอนตัว (Withdraw) จากปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้อื่นเท่าที่เป็นไปได้ กล่าวคือ ไม่แยแสต่อผู้อื่นเลย (Apathetic)

      ประเภทที่ 4 และสุดท้าย ประกอบด้วยบุคลิกภาพไร้ระเบียบ (Disorganized) ผู้คนที่โชคร้าย (Unfortunate) เหล่านี้ มีปัญหาร้ายแรง (อาจเป็นโรคความจำเสื่อม [Dementia] ในช่วงต้น?) และไม่อาจแยกประเภทเป็นจำพวกที่ทำงานแบบดั้งเดิม (Conventionally functioning) นอกจากนี้ ยังมีบุคลิกภาพที่แยกประเภทตามการปรับตัวได้ดีกว่า (Better adapted) ในช่วงแรก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงหลังของภาวะผู้ใหญ่ (Adulthood) หรือ [สถานการณ์] กลับกัน (Vice versa)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychological Traits vs. Personality Type Theory http://blog.motivemetrics.com/Psychological-Traits-vs-Personality-Type-Theory [2018, July 17].