จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 153 : การชดเชยทางประสาท (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-153

      

      นักวิจัยแสดงให้เห็น (Demonstrate) ถึงการเปลี่ยนแปลงในการสนองตอบทางประสาท (Neural response) ต่อสัญญาณการได้ยินที่เข้ามา (Incoming auditory response) โดยเฉพาะส่วนสำคัญ (Key) ของการได้ยินของผู้คน เกี่ยวข้องกับการแยกแยะตำแหน่งสถานที่ (Spatial position)

      และสิ่งนี้ดำเนินการไปโดยการประมวลในใจ (Mental processing) ในเรื่องความแตกต่างของเวลาระหว่างเสียงที่ได้ยิน (Sound) กับเสียง (Voice) ที่เดินทางถึงหูทั้ง 2 ข้าง ในกรณีที่ใช้ภาษาง่ายๆ เสียงที่เข้าถึงหูขวาก่อนหูซ้าย แสดงว่า มีคนกำลังพูดอยู่ด้านขวาของผู้ได้ยิน

      นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า เซลล์ประสาท (Neuron) ของผู้ใหญ่วัยกลางคนเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุผลที่ยังไม่มีใครทราบอย่างแท้จริง แต่อาจสะท้อนถึง (Reflecting) ความเร็วที่ช้าลงของการสนองตอบโดยเซลล์ประสาที่เกี่ยวข้อง (Concerned) อันที่จริง สิ่งที่พบบ่อยก็คือ เซลล์สมองของผู้สูงวัยใช้เวลายาวนานกว่าในการสนองตอบต่อสิ่งเร้า (Stimulus)

      อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการอื่น ตัวอย่างเช่น การประมวลทางประสาทขั้นพื้นฐานของช่วงเสียง (Sound duration) มักไม่ค่อยถูกกระทบ (Relatively unaffected) โดยชราภาพ แต่ก็มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ของกลยุทธ์การชดเชยทางประสาท ที่พยายามกระเตื้อง (Ameliorate) การเปลี่ยนแปลงโดยการนำอาณาบริเวณอื่นของสมองมาใช้

      ตัวอย่างเช่น นักวิจัยใช้การเดินโลหิตที่สัมพันธ์กับการสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็ก (Functional Magnetic Resonance Imaging : fMRI) ในการกวาดส่อง (Scan) สมอง แล้วพบว่า ผู้ใหญ่สูงวัยมีอาณาบริเวณของสมองส่วนขยายที่ได้รับการกระตุ้น (Activated) เมื่อเข้าใจลักษณะการสร้างประโยคเชิงซ้อน (Syntactically complex)

      ดังนั้น ผู้สูงวัยใช้ความยืดหยุ่น (Elasticity) ของสมองในการแสวงหา (Recruit) อาณาบริเวณใหม่ เพื่อช่วยการประมวลในใจ (Mental processing) นักวิจัยพบสสารสีเทา (Grey matter) ในอาณาบริเวณหนึ่งของสมอง [ส่วนหลังด้านซ้าย (Left posterior) ของรอยนูนสมองกลีบข้าง (Supra-marginal gyrus)] ที่มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความรู้ในศัพทานุกรม (Vocabulary knowledge) ในบรรดาวัยรุ่นที่เข้าร่วมวิจัย

      แต่นักวิจัยไม่พบสหสัมพันธ์ดังกล่าวในผู้ใหญ่เยาว์วัย แม้ว่าปริมาณ (Quantity) ของสสารสีเทา ในอีกอาณาบริเวณเฉพาะ [ส่วนหลังด้านซ้าย (ของย่านขมับ (Temporal region)] มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความรู้ในศัพทานุกรม ตลอดช่วงอายุของชีวิต (Life-span)

      การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในผู้สูงวัยค่อนข้างกระจัดกระจาย (Fragmented) บางแขนงครอบคลุมในเชิงลึก แต่ก็มีแขนงอื่นที่แทบจะไม่มีใครแตะต้อง (Barely touched) เลย ดังนั้นการแปรผล (Interpretation) จึงต้องระมัดระวัง

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Neural Compensation Linked to Better Memory in Old Agehttp://neurosciencenews.com/neural-compensation-aging-cognition-2170/ [2018, March 20].