จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 136 : การออกเสียงคำ

จิตวิทยาผู้สูงวัย-136

เราอาจคาดหวังว่า ความรู้เรื่องการออกเสียง (Pronunciation) ของคำ ควรได้รับการรักษา (Preserved) ในบั้นปลายของชีวิต และแท้จริงแล้วดูเหมือนจะเป็นกรณีโดยทั่วไป แม้ว่า ความเร็วของการออกเสียงคำอาจลดลง แต่โดยแบบอย่าง (Typically) ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการทดสอบด้วยต้องออเสียงรายการคำที่มีตัวสะกดไม่ธรรมดา (Irregularly spelt) อาทิ คำว่า Yacht [= เรือหรูหรา] และ Dessert [= ขนมหวาน]

เนื่องจากคำเหล่านี้ มิได้เป็นไปตามกฎ (Obey) ของการสะกดแบบดั้งเดิม (Conventional) การออกเสียงจึงไม่สามารถคาดคะเน (Calculated) จากหลักเกณฑ์ (Principle) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงคำว่า Dessert ตามกฎดั้งเดิม อาจเป็นเหมือนคำว่า “Desert” [ดีเสิร์ต] ความสามารถในการออกเสียงคำจึงเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญ (Part and parcel) ของปัญญาผลึก (Crystallized Intelligence) ซึ่งเป็นความรู้ทั่วไปที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามอายุขัย (Aging-proof) และคงอยู่ในบั้นปลายของชีวิต

นักวิจัยตรวจสอบความสามารถในการออกเสียงคำของผู้ใหญ่ 120 คน อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี แล้วพบว่าไม่มีสหสัมพันธ์ (Correlation) อย่างมีนัยสำคัญระหว่างคะแนนทดสอบกับอายุตามเวลา (Chronological age) รายชื่อคำที่ใช้ทดสอบได้วิวัฒนากลายเป็นการทดสอบการอ่านของผู้ใหญ่ระดับชาติ (National Adult Reading Test : NART) แห่งสหราชอาณาจักร

การวิจัยในเวลาต่อมาพบสหสัมพันธ์ที่เป็นลบเล็กน้อย (Slightly negative) ระหว่างอายุกับคะแนน NART แต่ความสัมพันธ์ได้หายไป (Disappear) เมื่อช่วงเวลาของการศึกษา (Length of education) หรือชนชั้นทางสังคม (Social class) ถูกเอาออกบางส่วนจากสมการ นักวิจัยจึงสรุปว่า อายุมีผลกระทบน้อยมาก หรือไม่มีเลย ต่อผลลัพธ์ของการทดสอบ NART

ด้วยข้อโต้แย้งนี้ NART ได้กลายเป็นตัวประเมิน (Assessor) ของปัญญาผลึก ที่ยอมรับกันแพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมวิจัยที่เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) หรือประเภทอื่นของสมองที่ถูกทำลาย (Damage) แต่ยังดำรง (Retained) ความสามารถในการอ่าน แต่ไม่สามารถทำงานอื่นที่ต้องใช้ปัญญา (Intellectual task)

อย่างไรก็ตาม NART อาจมิใช่แนวทาง (Guide) ที่จำเป็นหรือถูกต้องแม่นยำ เมื่อคำจาก NART ถูกวางอยู่ในบริบท (Context) ของประโยค ผลลัพธ์มักดีขึ้นโดยทั่วไป ในกรณีอื่นๆ NART อาจคาดคะเนระดับสติปัญญาเกินความจริง

ในขณะเดียวกันนักวิจัยใช้ฉบับอเมริกันที่เรียกว่า AMNART (AM = American) ค้นพบรูปแบบ (Pattern) ที่แตกต่าง¬ของผลลัพธ์ภายในกลุ่มผิวขาว (White American) และผิวดำ (African American) ในผู้สูงวัยที่เป็นหรือมิได้เป็นโรคสมองเสื่อม แม้ว่ายังเป็นถกเถียงกันว่า ควรแนะนำ (Advisability) ให้ใช้ข้อสอบการอ่านนี้ ทั่วทุกกลุ่มที่มีหลากหลายเผ่าพันธุ์ (Multi-ethnic) และหลากหลายภาษา (Multi-lingual) หรือไม่

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. National Adult Reading Testhttps://en.wikipedia.org/wiki/National_Adult_Reading_Test [2017, November 21].