จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 124 : การอ่านกับวิถีชีวิตของผู้สูงวัย (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-124

การอ่านอาจได้จากสำหรับนานาสื่อ (Media) เรามักคิดถึงการอ่านในรูปแบบ (Terms) ของหนังสือ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ แต่มันยังรวมถึงรายการต่างๆ ทางโลกในชีวิตประจำวัน อาทิ โปสเตอร์ (Poster) และตารางเวลา (Time table) นอกเหนือจากนวัตกรรมเมื่อไม่นานมานี้ (Recent innovations) อาทิ เนื้อหา (Text) บนจอ (Screen) คอมพิวเตอร์

ในการอ่านหนังสือ จำนวนร้อยละ (Percentage) ของผู้คนที่อ่านเพื่อความบันเทิง (Pleasure) ลดลงเล็กน้อยจากจุดสูงสุด (Peak) ในกลุ่มผู้ใหญ่กลางวัย (Middle age) แต่ก็ยังสูงกว่าในกลุ่มผู้ใหญ่สูงวัย และต่ำกว่ากลุ่มผู้ใหญ่เยาว์วัย ส่วนประเภทอื่นของสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนร้อยละของผู้อ่านสูงวัย สูงกว่าผู้อ่านเยาว์วัย โดยตัวเลขนี้ค่อนข้างเสถียร (Stable) ในกลุ่มผู้อ่านสูงวัย แต่ตัวเลขลดลงในกลุ่มผู้อ่านเยาว์วัย

อินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล (Digital) ได้กลายเป็นแหล่งของวัสดุการอ่าน (Reading material) ที่ทวีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้สูงวัย ในสหรัฐอเมริกา เกือบ 1 ใน 4 ของผู้สูงวัยสามารถเข้าถึงสื่อดิจิทัลเพื่อเป็นแหล่งข่าว แม้ว่าอาจมีความเหมือนในนานาประเทศ แต่รูปแบบที่แม่นยำ (Precise pattern) ของกิจกรรมการอ่านระหว่างวัฒนธรรมอาจแตกต่างกันพอควร (Somewhat)

การอ่านในช่วงเวลาต่อมาของชีวิตดูเหมือนจะเป็นประโยชน์มาก นักวิจัยพบว่า การอ่านเป็นกิจกรรมบันเทิง (Leisure) เช่นเดียวกับการเล่นเกมบนกระดาน (Board game) หรือเครื่องดนตรี (Musical instrument) และการเต้นรำ ล้วนมีสหสัมพันธ์ (Correlation) กับความเสี่ยงที่ลดลงในการเกิดโรคสมองเสื่อม (Dementia)

นักวิจัยยังพบอีกว่า การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการรับรู้ ส่วนอื่นๆ ได้แก่ กิจกรรมการเขียน เกมการทายคำ (Word game) และการเข้าฟังบรรยาย (Lecture) ที่ดูเหมือนจะช่วยชดเชย (Offset) ดัชนีชี้บ่ง (Index) บางตัวของการรับรู้ที่เสื่อมถอย นักวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า การอ่านเป็นตัวพยากรณ์หลัก (Key predictor) ของระดับการมีส่วนร่วมทางปัญญา (Intellectual engagement) ซึ่งเป็นมาตรวัดความเต็มใจในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องการการรับรู้สูง (Cognitively demanding)

ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นบทพิสูจน์ (Proof) ของทฤษฎีแห่งการไม่ใช้ (Disuse) เนื่องจากการอ่านเป็นการ “ออกกำลังจิต” (Mental exercise) ซึ่งทำให้จิตใจและสมองกระฉับกระเฉง นักวิจัยใช้วิธีการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) และพบว่า การอ่านมีสหสัมพันธ์กับการอยู่รอดใน 8 ปีต่อมา แม้หลังการควบคุมสำหรับนานามาตรวัด (Measure) ทางสุขภาพและสังคม

มีประจักษ์หลักฐานอย่างท่วมท้น (Overwhelming evidence) ที่สนับสนุนข้อโต้แย้งว่า ความสามารถในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลการดูแลสุขภาพ (Health literacy) อย่างสร้างสรรค์ (Constructively) เป็นประโยชน์ทั้งในการลดอัตราการตาย (Mortality) และในการเพิ่มพูนคุณภาพของชีวิต (Quality of life) อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า ถ้าผู้คนอ่านเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น เขาจะทำตามคำแนะนำทุกประการ แล้วปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดว่า มีการอ่านและเข้าใจคำแนะนำ แล้วปฏิบัติตาม (Heeded)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Aging and language https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2293308 [2017, August 29].