จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 123 : ชราภาพกับภาษา (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-123

ทักษะภาษาศาสตร์ (Linguistic skill) ประกอบด้วย (Encompass) การผลิต (Production) และความเข้าใจ (Comprehension) ในการเขียนและการพูด ซึ่งมีกติกาปฏิบัติ (Convention) ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การเขียนมีแนวโน้มของพิธีรีตอง (Formal) และความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มากกว่าการพูด

อันที่จริงมีการถกเถียงกัน (Debate) ว่า ทักษะทั้งสองนี้มีกระบวนการอะไรที่ปัน (Share) ร่วมกันบ้าง โดยเฉพาะในหน้าที่ที่คล้ายคลึงกัน (Functionally analogous) แต่การศึกษาผลกระทบของชราภาพต่อทักษะทั้งสอง สามารถดำเนินการไปเป็นคู่ขนาน (Tandem) ได้เลย

อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความ (Imply) ว่าการเปลี่ยนแปลงในทักษะย่อย (Sub-skill) ของการอ่าน จะเชื่อมโยงโดยอัตโนมัติ (Automatically linked) ไปยังการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกันในทักษะย่อยของการพูด อันที่จริงการศึกษาเรื่องชราภาพกับทักษะภาษาศาสตร์ แสดงภาพที่ไม่ปะติดปะต่อ (Disjoint) มากกว่าสติปัญญา (Intelligence) และความทรงจำ

แต่สิ่งที่เหมือนกับสติปัญญาและความทรงจำ ก็คือการเปลี่ยนแปลงที่ศึกษาโดยนักวิจัยเป็นเชิงสัมพันธ์ (Relative) มากกว่าเชิงสัมบูรณ์ (Absolute) การอภิปรายถึงความเสื่อมถอยในความเข้าใจเสียงพูด อาจนำไปสู่ความรู้สึก (Impression) ที่หลงผิด (Misguided) ว่า นักวิจัยลงความเห็นว่า ผู้สูงวัยด้อยความสามารถ (Incapable) ที่จะเข้าแนวความคิดที่เกินกว่าขั้นพื้นฐาน

นี่มิได้สะท้อนความเป็นจริง แม้ว่าภายใต้เงื่อนไขห้องทดลอง (Laboratory) บางประการ ผู้สูงวัยอาจด้อยความสามารถจริง ในบางสถานการณ์ อาทิ ตอนใกล้ตาย (In extremis) แต่ไม่มีผล (Bearing) ต่อประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งความเข้าใจของผู้สูงวัยและการใช้ภาษาที่แสดงออก (Manifest) ล้วนดำเนินไปภายในขอบเขตที่ยอมรับได้ (Acceptable bounds)

ในการศึกษาเรื่องชราภาพกับภาษา นักวิจัยมักใช้วิธีการรูปตัด (Cross-sectional) [ช่วงเวลาเดียวกัน] มากกว่าวิธีการข้ามช่วงเวลา (Longitudinal) เนื่องจากในวิธีการหลัง นักวิจัยมักพบการเปลี่ยนแปลงในระดับที่น้อยกว่า (Smaller scale) ในการวัดผลการรับรู้ (Cognitive performance measurement) ดังตัวอย่างการศึกษาขนาดของศัพทานุกรม (Vocabulary size) ซึ่งนักวิจัยพบความแตกต่างภายในกลุ่มอายุ (Within age group) ว่ามีนัยสำคัญมากกว่าความแตกต่างระหว่างกลุ่มอายุ (Between age group) อันอาจสะท้อนถึงความแตกต่างในประสบการณ์การศึกษา และผลกระทบของเพื่อนร่วมรุ่น (Cohort)

ดังนั้น จึงควรระมัดระวัง (Caution) ในการแปรผลจากข้อมูลในการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างนานาทักษะในการใช้ภาษายังเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและยังห่างไกลจากความเข้าใจที่ตรงกัน นอกจากนี้ขอบเขต (Degree) ของการเปลี่ยนแปลงที่ค้นพบยังขึ้นอยู่กับระดับการมุ่งเน้น (Focus) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยโต้แย้งว่า การเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ ในการรับภาษา (Reception of language) มิได้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ (Practically non-existent) เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาในการผลิตภาษา

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Aging and language https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2293308 [2017, August 22].