จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 118 : สรุปภาพรวมความทรงจำ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-118

การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ทางกายภาพ หรือร่างกายนั้น ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ช่วงเวลาของวันในการทดสอบก็มีผลต่อความสามารถของความทรงจำ และผู้ใหญ่สูงวัยมีแนวโน้มที่จะรายงานความตื่นตัว (Alert) ของความทรงจำในตอนเช้า ส่วนผู้ใหญ่เยาว์วัยจะรายงานความตื่นตัวของความทรงจำในตอนเย็น ดังนั้นการทดสอบความทรงจำในเวลาที่ไม่เหมาะสมอาจตอกย้ำ (Accentuate) ความต่างแตกที่เกิดจากอายุ

อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อแม้ (Caveat) เหล่านี้ ดูเหมือนจะปรากฏความแตกต่างอย่างชัดเจน (Tangible) ในความทรงจำที่สัมพันธ์กับอายุ ในหลายกรณี เราเห็นความเชื่อมโยง (Link) ระหว่างความทรงจำกับอายุที่ถดถอย ในระดับที่เกี่ยวข้องกับประสาท (Neural) ก็เห็นประจักษ์ว่า คงต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างความสามารถในการจดจำ กับโครงสร้างของสมอง จนถึงระดับแต่ละเซลล์ประสาท (Individual neuron)

เราสามารถสาธิต (Demonstrate) ได้ว่า โครงสร้างประสาทมีสหสัมพันธ์ (Correlated) กับความทรงจำ ดังกรณีวิจัยต่อไปนี้

  • สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างความคงเส้นคงวาของสสารสีขาว (White matter integrity) กับผลปฏิบัติงาน (Performance) ของความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory)
  • สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างกิจกรรมของสมองกลีบหน้า (Frontal lobe activity) กับ ผลปฏิบัติงานของความทรงจำปฏิบัติงาน
  • สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างกิจกรรมของปริมาตร (Volume) ของสมองกับความทรงจำระยะยาว

อันตราย (Danger) ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางประสาท ก็คือการหาสหสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ(Physical) กับทางจิตใจ (Mental) ในเวลาต่อมาของชีวิต ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ยากนัก เนื่องจากปัจจัยทั้ง 2 อาจเป็นการเปิดเผย (Manifestation) ผลกระทบของชราภาพเดียวกัน ดังนั้นการเชื่อมโยงที่ค้นพบอาจเป็นเพียงความบังเอิญ (Coincidence)

นี่อาจเป็นจริงในบางกรณี (Instance) แต่ในกรณีอื่นๆ ความสัมพันธ์ระหว่างการเสื่อมถอยทางกายภาพกับจิตใจ อาจเป็นความเฉพาะเจาะจง (Specific) เกินกว่าที่จะสรุปเป็นข้อโต้แย้งอย่างเหมาะสม (Fit) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบสหสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในความทรงจำระยะยาวกับการลดลงของปริมาตรโดยรวมของสมอง

แต่สหสัมพันธ์กับบางกรณีที่เฉพาะเจาะจงของสมอง อาทิ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) กลับไม่มีนัยสำคัญ (Non-significant) นี่หมายความ (Imply) ว่า เรากำลังมองที่ผลกระทบ (Effect) ของประสาทที่ถูกทำลายโดยเฉพาะ (Specific neural damage) แทนผลกระทบโดยทั่วไปของชราภาพ ทำให้การอธิบายไม่น่าเชื่อถือ (Implausible) และเป็นประสบการณ์เดียวกันที่สามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาอื่นๆ ในเกือบทุกกรณี

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Memory and aging https://en.wikipedia.org/wiki/Memory_and_aging [2017, July 18].