จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 114 : ความทรงจำตนเอง (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-114

ความทรงจำตนเอง (Meta-memory) คือการรับรู้อย่างมีสติ (Conscious awareness) ของตนเอง ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ อันได้แก่ การเก็บรักษาความจำ และการฟื้นคืน (Retrieval) ความทรงจำ ซึ่งเป็นการรู้คิด (Meta-cognition) ประเภทหนึ่ง จึงเป็นทั้งความรู้การไตร่ตรอง (Introspective knowledge) ในสมรรถนะด้านความทรงจำ (และกลยุทธ์ที่จะช่วยความทรงจำ) และเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสอดส่อง (Monitor) ความทรงจำของตนเอง

การรับรู้ความทรงจำนี้ มีผลกระทบ (Implication) ที่สำคัญในวิธีการเรียนรู้และใช้ความทรงจำของผู้คน ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหาความรู้ นักเรียนตัดสินใจว่า เขาได้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้บทเรียนที่กำหนด (Assigned material) และใช้ “การตัดสินใจการเรียนรู้” (Judgment of learning) เหล่านี้ ในการจัดสรรเบ่งเวลาในการเรียนรู้

ส่วนในผู้สูงวัย มักมีคำถามว่า จะวัด (Gauge) สมรรถนะทางจิต (Mental ability) ในขอบเขต (Extent) แค่ไหน? ผลกระทบจากชราภาพมีน้อยมาก เมื่อพิจารณาถึงคุณลักษณะที่เป็นนามธรรม (Abstract feature) ของความทรงจำ อาทิ การตัดสินใจว่าประเภทไหนของรายการที่พึงจดจำ (To be remembered : TBR) ที่ง่ายสุด? และจะใช้กลยุทธ์ไหนที่ช่วยความทรงจำ (Mnemonic) ได้ดีสุด?

อย่างไรก็ตาม แง่มุม (Aspect) อื่นของความทรงจำตนเองโดยทั่วไป (Generally) มักแสดงความเสื่อมลง (Decline) ตามอายุ โดยหลักการ (Principally) แล้ว ความแตกต่างตามอายุเกิดขึ้น (1) เมื่อต้องตัดสินใจในการกระทำเกี่ยวกับความทรงจำ (Memory act) อันไม่สมบูรณ์ (Incomplete) หรือ (2) เมื่อต้องตัดสินใจในภาพรวม (Global) ที่เกี่ยวกับผลการทำงาน (Performance) ในอดีตและอนาคต

วิธีหนึ่งของการวัดสมรรถนะความทรงจำของตนเอง คือ “ความรู้สึกว่ารู้” (Feeling of knowing : FOK) ตัวอย่างเช่น การทดลอง FOK ที่เป็นแบบอย่าง (Typical) อาจต้องการให้ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) พิจารณาคำถามแล้วประกาศ (Declare) ว่า มีความมั่นใจ (Confident) มากน้อยแค่ไหนในคำตอบของตนเองว่าถูกต้อง โดยใช้มาตราส่วนเป็นตัวเลข (Numerical scale)

เราได้เห็นผลการวิจัยมาแล้ว ว่าผู้สูงวัยไม่ค่อยสันทัด (Spectacularly poor) ในการประเมินความถูกต้อง (Accuracy) เกี่ยวกับการให้การของพยาน (Witness testimony) บทสรุปเดียวกันอาจประยุกต์ใช้ได้กับความทรงจำประเภทอื่น อาทิ ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episodic) กับ ความทรงจำตามแผน (Prospective) และความทรงจำย้อนหลัง (Retrospective) แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่เป็นการระลึกถึง (Recall) ซึ่งอาศัยความหมาย (Semantic) โดยตรง (Straightforward) การศึกษาในกรณีดังกล่าว มักรายงานผลว่าไม่มีความแตกต่างตามอายุอย่างมีนัยสำคัญ

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Metamemory https://en.wikipedia.org/wiki/Metamemory [2017, June 21].