จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 112 : ความทรงจำตามแผน (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-112

นักวิจัยพบความแตกต่างตามอายุในความทรงจำตามแผน (Prospective memory) อย่างมาก ในบางสถานการณ์ (Circumstance) ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) สูงวัย ทำคะแนนทดสอบไม่ได้ดีในการสื่อสารข้อมูล (Message delivery) โดยเฉพาะเมื่อการจดจำนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการวัด (Measure) ผลงานที่ซับซ้อน (Complex) ขึ้น หรืองานที่ต้องอาศัยสมาธิ (Attention) มากขึ้น

ทำไมผู้สูงวัย จึงควรทำงานบางอย่างในความทรงจำตามแผน ได้ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น เป็นประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่ (Open issue) แต่นักวิจัยก็พบว่า ผู้สูงวัยทำคะแนนทดสอบได้ดีในงานที่อาศัยเหตุการณ์ (Event-based) มากกว่างานที่อาศัยเวลา (Time-based) แม้มีการศึกษาหลายครั้งที่หักล้าง (Militate) การแปรผลที่ง่าย (Simplistic) เกินไปสำหรับการสรุปเช่นนี้

นักวิจัยพบความแตกต่างตามอายุอย่างมีนัยสำคัญ ในงานที่ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยแยกแยะรูปถ่ายของบุคคลผู้มีชื่อเสียง และส่วนประกอบของความทรงจำตามแผน ที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมวิจัยแยกแยะบุคคลดังกล่าวเฉพาะที่สวมแว่นตา (Spectacles) ซึ่งเป็นตัวอย่างของงานที่อาศัยเหตุการณ์ แต่ในบางสถานการณ์ งานที่อาศัยเวลา อาจวัดการควบคุมเวลา (Time monitoring) แทนที่จะวัดตัวความทรงจำเอง (Per se)

นักวิจัยสังเกต (Observe) ว่า งานในความทรงจำตามแผน มีแนวโน้มที่จะแตกต่างตามอายุในกรอบเวลา (Time frame) ที่ค่อนข้าง (Relatively) สั้น ดังนั้น หากผู้เข้าร่วมวิจัย ได้รับการร้องขอให้ทำงานบางอย่างที่เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ค่อนข้างซับซ้อน (Fairly complex) ก็มีแนวโน้มที่จะถูกลืม

แต่ยังเป็นที่สงสัย (Questionable) กันว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) ในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวแต่เป็นไปตามธรรมชาติ (Naturalistic) กับกระบวนทัศน์ในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นแต่อยู่บนพื้นฐานของห้องทดลอง ต่างสามารถประเมินประเภทของความทรงจำตามแผน ที่เหมือนกันได้หรือไม่?

การให้ผู้เข้าร่วมวิจัยโทรศัพท์ถึงผู้วิจัย ณ เวลาเฉพาะ ในวันเฉพาะ ที่ตกลงกันล่วงหน้า มีแนวโน้มที่ถูกหลงลืม (Memory lapse) มากกว่าการที่ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกทำให้วอกแวก (Distract) แต่นักวิจัยพบว่า การแย่ง (Compete) ความสนใจจากผู้เข้าร่วมวิจัย ณ เวลาเฉพาะในระยะสั้น ไม่ยุ่งยาก (Onerous) มากจนชักนำ (Induce) ไปสู่ความแตกต่างตามอายุเลย

นักวิจัยยังพบว่า ผู้สูงวัยด้อยประสิทธิภาพในงานความทรงจำตามแผน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่วอกแวก หรือเสียงดังเกินไป แม้เป็นงานง่ายๆ อาทิ การขอให้ผู้วิจัย (Experimenter) ลงนามในเอกสารตอนท้ายของการทดสอบที่ยาว 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม การทบทวนวรรณกรรมระบบเชิงปริมาณ (Meta-analysis) แสดงให้เห็น (Demonstrate) ว่า ผู้สูงวัยสามารถทำคะแนนทดสอบได้ดี ด้วยกลยุทธ์มุ่งเน้น (Focus strategy)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Prospective memory .https://en.wikipedia.org/wiki/Prospective_memory [2017, June 06].