จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 111 : ความทรงจำตามแผน (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความแตกต่างของการทำงาน (Functional distinction) ระหว่างวิธีความทรงจำ (Mnemonic) ตามกลยุทธ์ (Strategy) ภายในและกลยุทธ์ภายนอกค่อนข้างคลุมเครือ (Blurred) ในบางงานของความทรงจำตามแผน (Prospective) มักจะไม่มีความแตกต่างตามอายุหรือแม้แต่ความเหนือกว่าเพราะอายุ (Aging superiority)

ตัวอย่างเช่น การศึกษาครั้งหนึ่งกำหนดให้ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ต้องโทรศัพท์ไปยังนักวิจัย ณ เวลาที่ได้จัดแจงกันไว้ล่วงหน้า (Pre-arranged) นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัย จดจำวันเวลาที่ต้องโทรศัพท์ได้แม่นยำและตรงเวลา (Punctual) มากกว่าผู้ร่วมวิจัยที่เยาว์วัย

อย่างไรก็ตาม บางส่วนของเหตุการณ์นี้ อาจเป็นผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect) ผู้สูงวัย อาจ (1) ดำเนินชีวิตที่สุขุม (Sedate) กว่า (2) มีสิ่งที่ทำให้เขาวอกแวก (Distract) น้อยกว่า และ (3) ได้รับการเลี้ยงดูที่ให้ความสำคัญแก่การนัดหมายและการตรงต่อเวลา จึงมีแรงจูงใจที่จะโทรศัพท์ตามที่ตกลงกัน มากกว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่เยาว์วัย

นักวิจัยยังพบอีกว่า การจูงใจด้วย (1) เงิน และ (2) ความสำคัญทางสังคม (Social importance) ในการโทรศัพท์ ได้ผลดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญในผู้สูงวัย เมื่อเปรียบเทีบกับผู้เยาว์วัย และผู้สูงวัย ก็รายงานอาการหลงลืม (Memory lapse) ในชีวิตจริง [ในอดีต] ได้ดีกว่าความทรงจำตามแผน (Prospective) [ในอนาคต] แต่ผลลัพธ์ [อดีตกับอนาคต] จะกลับกันในผู้เยาว์วัย

วิธีหนึ่งที่จะลดผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน คือการคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยในวัย 50 ปี ที่ยังสอบผ่านการทดสอบทางสติปัญญาในระดับเดียว (Par) กับกลุ่มในวัย 20 ปี ซึ่งเป็นอายุโดยทั่วไป (Typical) ของผู้ใหญ่เยาว์วัย แต่ผ่านการเลี้ยงดู (Up-bringing) เช่นเดียวกันกับผู้สูงวัย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นักวิจัยยังคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีวิถีชีวิต (Life style) เดียวกัน

นักวิจัยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง 2 กลุ่มในเรื่องการตรงต่อเวลา หรือจำนวนครั้งของการโทรศัพท์ ที่กำหนดล่วงหน้าให้เป็น 5 วัน วันละครั้ง และเป็นเวลาเฉพาะที่แน่นอน (Exact) นอกจากนี้ นักวิจัยยังไม่พบความแตกต่างตามอายุในกลยุทธ์ (ทั้งภายในและภายนอก) ของการจดจำในการโทรศัพท์ดังกล่าว

แต่นักวิจัยพบผลกระทบจากอายุในเรื่องประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยใช้ในกลยุทธ์ทั้งภายในและภายนอก กล่าวคือผู้ใช้กลยุทธ์ภายในที่ผิดพลาด มักเป็นผู้สูงอายุ ส่วนผู้ใช้กลยุทธ์ภายนอกที่ผิดพลาด มักเป็นผู้เยาว์วัย ดังนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยที่ดำเนินต่อเนื่องโดยอาศัยความทรงจำอย่างเดียว จะแย่ลง ในขณะที่ผู้อาศัยกลยุทธ์ภายนอก (อาทิ การฝึกปรือ) จะดีขึ้น

ผู้เข้าร่วมวิจัยมักใช้กลยุทธ์ใกล้ตัว (At hand) ตามลักษณะงาน ตัวอย่างเช่น การมองว่าเป็นงานยาก (Perceived difficulty) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ภายใน อาจต้องอาศัยการสนองตอบในเชิงบวก เพื่อกำหนด (Shape) การเตรียมใช้กลยุทธ์ภายนอก

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Prospective memory. https://en.wikipedia.org/wiki/Prospective_memory [2017, May 30].