จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 106 : ความทรงจำอัตชีวประวัติ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

วิธีที่ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ได้รับคำถามจะเป็นตัวกำหนด (Determine) ช่วงเวลาของความทรงจำ แต่ก็ยังไม่มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) แน่ชัดที่สนับสนุนถ้อยคำซ้ำซาก (Cliché) ที่ว่า “มักจมปลักอยู่กับอดีต” อันที่จริงการศึกษาหลายครั้งพบว่า ผู้เยาว์วัยและผู้สูงวัย รื้นฟื้นความทรงจำ (Reminiscence) จากวัยเด็ก ในจำนวนที่พอๆ กัน โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากการที่ผู้เข้าร่วมวิจัยหมกมุ่น (Wallow) อยู่กับความคิดถึงอดีต (Nostalgia)

นักวิจัยพบว่า เมื่อแบ่งความทรงจำออกเป็น “น่ารื่นรมย์” (Pleasant) และ “ไม่น่ารื่นรมย์” (Unpleasant) แล้ว ความทรงจำจากช่วงต้นๆ ของชีวิตมักปรากฏบ่อย (Predominant) ในประเภทหลัง นักวิจัยได้ลองใช้วิธีการ (Technique) ที่แตกต่างกัน เพื่อซักไซ้ไล่เลียง (Elicit) ความทรงจำ แม้จะพบสัดส่วนที่สูงขึ้นของความทรงจำที่เป็นสุข (Happy) แต่ก็พบว่าความทรงจำที่ไม่น่ารื่นรมย์มีมากกว่าอยู่ดี

ในส่วนที่สัมพันธ์กับประเด็นนี้ การศึกษาส่วนมากของความทรงจำอัตชีวประวัติ (Auto-biographical) มักตรวจสอบ (Examine) “ความทรงจำที่ไม่สมัครใจ” (Involuntary) แต่ในชีวิตจริง มักมีตัวอย่างของ “ความทรงจำสมัครใจ” (Voluntary) ในอัตชีวประวัติมากมาย เพราะมันเป็นความทรงจำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Spontaneous) ที่ดูเหมือน (Appear) จะเกิดการกระตุ้น (Prompt) จากความเกี่ยวข้อง (Association) กับบางสิ่งบางอย่างที่ประสบพบเห็น (Encounter) ในปัจจุบันทันด่วน (Immediate present)

มีประจักษ์หลักฐานแสดงว่า ความทรงจำสมัครใจเกิดขึ้นบ่อยถี่น้อยกว่าในผู้สูงงวัย แต่เป็นความทรงจำที่เฉพาะเจาะจง (Specific) ด้วยอารมณ์ในเชิงบวก (Positive mood) เมื่อเปรียบเทียบกับความทรงจำไม่สมัครใจ นอกจากนี้ ความทรงจำสมัครใจยังมีแนวโน้มของการบอกใบ้ (Cue) ด้วยความคิดนามธรรม (Abstract) มากกว่า “ประสาทสัมผัสรับเข้า” (Sensory input) อาทิ การลิ้มรส (Taste) และกลิ่น (Smell)

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ประสาทสัมผัสดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อความทรงจำอัตชีวประวัติ อันที่จริง เกือบทุกคนได้ผ่านประสบการณ์ความทรงจำที่ไม่คาดคิดมาก่อน (Unexpected) ซึ่งได้รับการกระตุ้น (Stir) โดยรชาติ หรือกลิ่น (Scent) เพียงแต่ประสาทสัมผัสทั้งสอง ไม่อาจฟื้นฟูความทรงจำทางจิต (Mentally revive) ได้ง่าย เหมือนความทรงจำสมัครใจ

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าทั้งผู้เยาว์วัยและผู้สูงวัย ได้รับคำบอกใบ้ของการรวมกลิ่น (Odor) อันยึดติด (Attach) กับคำ (Word) อาทิ คำว่า “กุหลาบ” (Rose) ที่รวมกับการดมกลิ่นของน้ำมันกุหลาบ (Rose Oil) จะทวีคูณความทรงจำเป็น 2 เท่า การค้นพบนี้น่าสนใจ แต่ก็เกิดคำถามว่า การทดสอบอัตชีวประวัติมีผลลัพธ์ที่ลำเอียงอย่างบังเอิญ (Accidentally biased) จากกลิ่นของห้องทดสอบ หรือน้ำหอมที่สตรีใช้อยู่หรือไม่?

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Auto-biographical memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Autobiographical_memory[2017, April 26].