จอตาเสื่อม RP (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

จอตาเสื่อม-3

      

      การตรวจวินิฉัยโรค RP ทำได้ด้วย

  • เครื่อง Ophthalmoscope – โดยการหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อดูจอตา กรณีที่เป็นโรค RP จะพบจุดดำอยู่ที่จอตา
  • การวัดลานสายตา (Visual field test) – เป็นการตรวจความกว้างของการมองเห็นเมื่อตามองตรงมาข้างหน้า ไม่มีการกลอกไปมองหรือหันหน้าไปมอง
  • เครื่อง Electroretinogram (ERG) – เป็นการตรวจการทำงานของจอตาที่สนองตอบต่อแสง
  • การตรวจทางพันธุกรรม (Genetic test) จากตัวอย่างเลือดหรือตัวอย่างเนื้อเยื่อv

      ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค RP มีเพียงการช่วยชะลอการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งอาจจะมองเห็นได้บางส่วนด้วยการให้ยา

  • Acetazolamide เพื่อลดอาการบวมของจอตา (Macular edema) เพื่อทำให้มองเห็นได้
  • Vitamin A palmitate เพื่อชะลออาการของโรค RP แต่ก็ต้องระวัง เนื่องจากการใช้ในปริมาณที่มาณอาจทำให้เกิดความเป็นพิษได้
  • Docosahexaenoic acid (DHA)
  • Calcium channel blockers
  • Lutein และ zeaxanthin
  • Valproic acid

      ส่วนยาที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรค RP เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง ได้แก่

  • Isotretinoin ที่ใช้ในการรักษาสิว
  • Sildenafil (Viagra)
  • Vitamin E

      นอกจากนี้ยังมี

  • การสวมแว่นตา เพื่อลดความไวต่อแสงและป้องกันตาจากการถูกทำลายจากแสงอัลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นการเร่งให้ตาสูญเสียการมองเห็นเร็วขึ้น
  • การใส่ตาเทียมด้วยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง

      ส่วนการรักษาวิธีอื่นที่อยู่ระหว่างการศึกษา ได้แก่

  • การเปลี่ยนเซลล์หรือเนื่อเยื่อใหม่
  • ยีนบำบัด (Gene therapy) ที่จอตา

แหล่งข้อมูล:

  1. What Is Retinitis Pigmentosa?. https://www.webmd.com/eye-health/what-is-retinitis-pigmentosa#1 [2018, March 17].
  2. Retinitis Pigmentosa. https://www.medicinenet.com/retinitis_pigmentosa/article.htm#what_causes_retinitis_pigmentosa [2018, March 17].