งดเหล้าแล้วชีวิตดีดี๊ (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

งดเหล้าแล้วชีวิตดีดี๊-5

      

      การดื่มแอลกอฮอล์ที่มาก มีผลกระทบต่อร่างกายส่วนต่างๆ (ต่อ)

      10. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

      เพราะแอลกอฮอล์ไปขัดขวางความสมดุลของแคลเซียม การผลิตวิตามินดี และระดับคอร์ติซอล ทำให้โครงสร้างกระดูกอ่อนลง

      11. ทุพโภชนาการและขาดวิตามิน (Malnourishment and vitamin deficiencies)

      12. อุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บ เช่น รถชน หกล้ม จมน้ำ การฆ่าคนตาย (Homicide)

      กรณีที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ อาการเมาจะเกิดช้าลง เพราะร่างกายมีความทนทานต่อการเมามากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกายติดแอลกอฮอล์ และหากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำหยุดดื่มแอลกอฮอล์หรือลดปริมาณการดื่มลงอย่างฉับพลันก็อาจจะทำให้มีภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal) ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการ

  • วิตกกังวล (Anxiety)
  • ตื่นกลัว (Nervousness)
  • คลื่นไส้ (Nausea)
  • สั่น (Tremors)
  • ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (Irregular heartbeat)
  • เหงื่อออกมาก (Heavy sweating)

      โดยอาการเหล่านี้มักจะเกิดระหว่าง 4-72 ชั่วโมง หลังการดื่มครั้งสุดท้าย โดยอาการมักจะเกิดสูงสุด (Peak) ประมาณชั่วโมงที่ 48 ส่วนในรายที่รุนแรงแรงอาจมีอาการของภาวะถอนพิษสุราที่เรียกว่า Delirium tremens ซึ่งได้แก่

  • ร่างกายสั่น (Body tremors)
  • ประสาทหลอน (Hallucinations)
  • สับสนงุนงง (Confusion)
  • หลับไม่รู้เรื่อง (Extreme sleepiness)
  • ชักจนอาจทำให้เสียชีวิต (Seizures)

      อย่างไรก็ดี แม้จะมีงานวิจัยบางฉบับที่เปิดเผยว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอเหมาะอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) ได้ แต่พึงระลึกไว้ด้วยว่า

  • หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ฟื้นจากโรคพิษสุรา ผู้ที่เป็นโรคตับ และผู้ที่กินยาที่มีปฏิกริยากับแอลกอฮอล์นั้น การดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
  • สำหรับผู้ชายที่อายุ 30 ปี ความเสี่ยงที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์จะสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
  • สำหรับผู้ชายที่อายุ 60 ปี การดื่มแอลกอฮอล์อาจช่วยเรื่องหัวใจได้
  • สำหรับผู้หญิงที่อายุ 60 ปี ประโยชน์จากการดื่มแอลกอฮอล์อาจไม่แน่ชัด เพราะมีปัจจัยเรื่องของโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมจากการดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Alcohol's Effects on the Body. https://www.niaaa.nih.gov/alcohol-health/alcohols-effects-body [2018, September 17].
  2. What effects does alcohol have on health?https://www.medicalnewstoday.com/articles/305062.php [2018, September 17].
  3. Ten health risks of chronic heavy drinking. https://www.medicalnewstoday.com/articles/297734.php [2018, September 17].
  4. The Effects of Alcohol on Your Body. https://www.healthline.com/health/alcohol/effects-on-body#1 [2018, September 17].