ความรู้สึกที่มีปัญหา (ตอนที่ 2)

ความรู้สึกที่มีปัญหา-2

      

      โดยเส้นประสาทสามารถแบ่งออกได้เป็น

  • เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory nerves) มีความสัมพันธ์กับผิวหนัง เช่น ความรู้สึกร้อนหนาว ความปวด การสัมผัส
  • เส้นประสาทนำคำสั่ง (Motor nerves) ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  • เส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nerves) ที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของอวัยวะภายใน เช่น ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การย่อย และ กระเพาะปัสสาวะ

      โรคปลายประสาทอักเสบอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • โรคเบาหวาน – ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดมากที่สุด มากกว่าร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบ
  • โรคงูสวัด (Shingles) – ที่มีอาการปวดปลายประสาทหลังจากการเป็นงูสวัด (Postherpetic neuralgia)
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) – ที่ทำให้มีทุพโภชนาการ ขาดวิตามิน
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune diseases) เช่น กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren's syndrome) โรคเอสแอลอีหรือโรคลูปัส (Lupus) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome) โรคเส้นประสาทอักเสบเรื้อรัง (Chronic inflammatory demyelinating polyneuropathy) และโรคหลอดเลือดอักเสบชนิดมีการตายของเนื้อเยื่อ (Necrotizing vasculitis)
  • การได้รับสารพิษอย่างโลหะหนักหรือสารเคมี เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท ยาฆ่าแมลง
  • ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ยากันชัก (Anticonvulsants) ยารักษาความดันโลหิตบางชนิด
  • การติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคไลม์ (Lyme disease) โรคไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr virus = EBV) โรคไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) โรคเรื้อน (Leprosy) โรคคอตีบ (Diphtheria) และโรคติดเชื้อเฮชไอวี (HIV)
  • โรคทางพันธุกรรม (Inherited disorders) เช่น โรคทางระบบประสาท Charcot-Marie-Tooth
  • การได้รับบาดเจ็บที่ไปทำลายเส้นประสาทหรือมีการกดเส้นประสาท เช่น การอยู่ในท่าเดิมๆ อย่างการพิมพ์คอมพิวเตอร์
  • มีก้อนเนื้องอก ทั้งชนิดดีและชนิดที่เป็นเนื้อร้าย แล้วไปกดเส้นประสาท
  • การขาดวิตามิน B-1, B-6 และ B-12 วิตามิน E และไนอาซิน (Niacin) ที่สำคัญต่อเส้นประสาท
  • ความผิดปกติของไขกระดูก (Bone marrow) เช่น มีโปรตีนผิดปกติในเลือด (Monoclonal gammopathies) โรคมะเร็งมัลติเพิลมัยอีโลมาที่มีเซลล์มะเร็งกินเข้าไปในกระดูกจนส่งผลให้กระดูกเกิดภาวะกระดูกแข็ง (Osteosclerotic myeloma) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) แอมีลอยโดซิส (Amyloidosis)
  • โรคอื่นๆ เช่น โรคไต โรคตับ โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue disorders) ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)
  • อื่นๆ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic)

แหล่งข้อมูล:

  1. Peripheral neuropathy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/peripheral-neuropathy/symptoms-causes/syc-20352061 [2018, May 29].
  2. Peripheral Neuropathy.https://www.medicinenet.com/peripheral_neuropathy/article.htm [2018, May 29].
  3. Peripheral Neuropathy. https://www.healthline.com/health/peripheral-neuropathy [2018, May 29].