คลอไรด์ (Chloride)

บทความที่เกี่ยวข้อง
คลอไรด์

คลอไรด์ (Chloride) เป็นเกลือแร่/Electrolyte ในเลือดที่ทำงานร่วมกับเกลือแร่ตัวอื่นซึ่งที่สำคัญคือ โซเดียม โพแทสเซียม และคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) โดยทำหน้าที่เพื่อช่วยคงสมดุลของภาวะของเหลวและรวมถึงสมดุลของภาวะกรด-ด่างของร่างกาย

แพทย์ตรวจหาปริมาณคลอไรด์ในเลือดได้จากการตรวจเลือดผ่านทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า Electrolyte blood test โดยมีค่าปกติประมาณ 96 - 106 Milliequivalents per liter (mEq/L) ทั้งนี้ค่านี้แตกต่างกันได้บ้างเมื่อตรวจจากห้องปฏิบัติการที่แตกต่างกัน

ภาวะคลอไรด์ในเลือดสูง (Hyperchloremia) มักมีสาเหตุจากท้องเสีย อาเจียน ภาวะเลือด เป็นกรดจากโรคต่างๆ (เช่น จากโรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจ) โรคไต ผลข้างเคียงจากยาขับปัสสาวะบางชนิด โดยที่คลอไรด์ในเลือดสูงมักไมค่อยก่ออาการ แต่อาการที่พบได้เช่น อ่อน เพลียและกระหายน้ำ

ภาวะมีคลอไรด์ในเลือดต่ำ (Hypochloremia) มักมีสาเหตุจากภาวะเลือดเป็นด่าง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะขาดน้ำ โรค Addison disease อาการหอบเหนื่อยรุนแรง ร่างกายมีแผลไหม้ รุนแรง โดยทั่วไปไม่ค่อยพบอาการจากการมีคลอไรด์ในเลือดต่ำ แต่จะเป็นอาการจากสาเหตุมากกว่าเช่น จากหัวใจล้มเหลว เป็นต้น

ทั้งนึ้ความผิดปกติของค่าคลอไรด์ในเลือดมักเกิดร่วมกับความผิดปกติของเกลือแร่ตัวอื่นเสมอเช่น โซเดียมและ/หรือโพแทสเซียม

บรรณานุกรม

  1. 1. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003485.html [2016,Jan16]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Hyperchloremia [2016,Jan16]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Hypochloremia [2016,Jan16]