ของฝากจากน้ำท่วม (ตอนที่ 4)

ของฝากจากน้ำท่วม

การตรวจและทดสอบสามารถทำได้ด้วยการ

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count = CBC)
  • การตรวจสาร Creatine kinase (CK)
  • การตรวจการทำงานของตับ (Liver enzymes)
  • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)

การรักษาโรคฉี่หนูทำได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เช่น

  • ยา Ampicillin
  • ยา Azithromycin
  • ยา Ceftriaxone
  • ยา Doxycycline
  • ยา Penicillin

ส่วนการให้ยาทางหลอดเลือดอาจจำเป็นในกรณีที่มีอาการรุนแรง

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • การมีปฏิกริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์ (Jarisch-Herxheimer reaction = JHR) เมื่อมีการให้ยา Penicillin
  • เยื่อบุสมองอักเสบ (Meningitis)
  • ตกเลือดอย่างรุนแรง (Severe bleeding)

การป้องกันโรคฉี่หนูสามารถทำได้ด้วยการ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนด้วยปัสสาวะของสัตว์ โดยเฉพาะบริเวณที่มีฉี่หนู เช่น การเดินลุยน้ำหรือโคลน
  • หลีกเลี่ยงการกินน้ำหรือหายใจในน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ หนองน้ำ ในขณะที่ว่ายน้ำ
  • อาบน้ำและทำความสะอาดแผลทันทีหลังการว่ายน้ำ
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมผจญภัยขณะที่มีแผล
  • สวมเสื้อผ้าและรองเท้าเพื่อป้องกันการสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ติดเชื้อ

บรรณานุกรม

1. Leptospirosis. https://www.cdc.gov/leptospirosis/ [2017, January 20].

2. Leptospirosis. https://medlineplus.gov/ency/article/001376.htm [2017, January 20].

3. Leptospirosis. http://emedicine.medscape.com/article/220563-overview [2017, January 20].