ของฝากจากน้ำท่วม (ตอนที่ 2)

ของฝากจากน้ำท่วม

โดยเชื้อนี้จะแพร่กระจายผ่านน้ำปัสสาวะของสัตว์ที่ปล่อยลงสู่น้ำหรือดิน ซึ่งเชื้อจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยสัตว์ที่เป็นพาหะของแบคทีเรียชนิดนี้ ได้แก่

  • วัว
  • สุกร
  • ม้า
  • สุนัข
  • สัตว์จำพวกหนู (Rodents)
  • สัตว์ป่า

สัตว์ที่ติดเชื้อจะสามารถปล่อยเชื้อแบคทีเรียไปยังสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่องนานเป็นเดือนหรือเป็นปี โดยมนุษย์จะติดเชื้อด้วยการ

  • สัมผัสกับฉี่ของสัตว์หรือของเหลวจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ (ยกเว้นน้ำลาย)
  • สัมผัสกับน้ำ ดิน หรือ อาหาร ที่ปนเปื้อนฉี่ของสัตว์ที่ติดเชื้อ

โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางผิวหนังหรือเยื่อเมือก (Mucous membranes) เช่น ตา จมูก หรือ ปาก โดยเฉพาะผิวหนังที่เป็นแผลหรือรอยถลอกขีดข่วน การดื่มน้ำที่ปนเปื้อน ซึ่งการแพร่กระจายของโรคมักมีสาเหตุมาจากน้ำท่วม

นอกจากนี้โรคฉี่หนูยังติดต่อกันด้วยการว่ายน้ำ การเดินลุยน้ำหรือโคลน (Wading) การพายเรือคะยัก (Kayaking) การแข่งแพ (Rafting) และจากสุนัขเลี้ยง ส่วนการติดเชื้อจากคนสู่คนนั้นไม่ค่อยพบ

อาการของโรคฉี่หนูมีมากมาย โดยอาการที่พบมาก ได้แก่

  • ไอแห้ง
  • เป็นไข้ (38-40°C)
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • หนาวสั่น

อาการที่พบรองลงมา ได้แก่

  • ปวดท้อง
  • เสียงปอดผิดปกติ
  • ปวดกระดูก
  • เยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดง (Conjunctivitis)

บรรณานุกรม

1. Leptospirosis. https://www.cdc.gov/leptospirosis/ [2017, January 18].

2. Leptospirosis. https://medlineplus.gov/ency/article/001376.htm [2017, January 18].

3. Leptospirosis. http://emedicine.medscape.com/article/220563-overview [2017, January 18].